Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/96
Title: ศึกษาวิเคราะห์บทบาลีในพระไตรปิฎก ตามแนวคัมภีร์สัททาวิเสส
Other Titles: An Analytical Study of Pali Words in Tipitaka Through Saddāvisesa Texts
Authors: พระมหาโกมล กมโล, ผศ.ดร.
Keywords: บาลีในพระไตรปิฎก
คัมภีร์สัททาวิเสส
Issue Date: 2560
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาคัมภีร์สัททาวิเสสที่เป็น เครื่องมือศึกษาบาลีพระไตรปิฎก ๒) เพื่อประมวลสาระของคัมภีร์สัททาวิเสสที่เป็นเครื่องมือศึกษา บาลีพระไตรปิฎก ๓) เพื่อศึกษาลักษณะภาษาบทบาลีในอเนกัตถวรรคที่ปรากฏในคัมภีร์นิฆัณฑุ เป็น การวิจัยเชิงเอกสารโดยวิธีการศึกษารวบรวมประมวลความรู้คัมภีร์พื้นฐานการศึกษาบทบาลี พระไตรปิฎก คัดเลือกบทบาลีที่น ามาอ้างเป็นอุทาหรณ์อธิบายขยายความหมายของศัพท์ในคัมภีร์ นิฆัณฑุ ตอนอเนกัตถวรรค เป็นตัวอย่างการศึกษาวิเคราะห์รูปศัพท์ ความหมาย ฉันทลักษณ์ และ อลังการ อันเป็นกลุ่มคัมภีร์สัททาวิเสส เสนอผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบแก้ไข ปรับปรุง สรุปบรรยายเชิง พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์บาลีกลุ่มสัททาวิเสสอันเป็นคัมภีร์พื้นฐานการศึกษาบทบาลี พระไตรปิฎก มี๔ ประเภท ดังนี้ (๑) กลุ่มคัมภีร์ที่เป็นไวยากรณ์แสดงหลักภาษา (๒) กลุ่มคัมภีร์ พจนานุกรมศัพท์ (นิฆัณฑุ) (๓) กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์(๔) กลุ่มคัมภีร์อลังการ (เกฏุภะ) มีข้อมูลจาก การประมวลสาระเนื้อหาโดยสรุป คือ ๑) กลุ่มคัมภีร์ที่เป็นไวยากรณ์แสดงหลักภาษา มีชนิดของสูตร แบบดั้งเดิมอยู่ ๖ ประเภทและมีองค์ประกอบส าคัญ ๓ อย่าง ๒) กลุ่มคัมภีร์พจนานุกรมศัพท์ มี เนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของศัพท์แต่ละศัพท์ แบ่งเป็น ๓ กัณฑ์๓) กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์ จ าแนก คาถาเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) มาตราพฤติ (๒) วรรณพฤติและ ๔) กลุ่มคัมภีร์อลังการ จ าแนกเป็น ๒ ประเภท (๑) สัททาลังการ การตกแต่งเสียง (๒) อัตถาลังการ การตกแต่งความหมาย ส าหรับคัมภีร์อภิธานเป็นกลุ่มคัมภีร์พจนานุกรมศัพท์เฉพาะตอนอเนกัตถวรรค มี ๓๕๙ คาถา มีจ านวน ๘๓๐ ศัพท์ เริ่มตั้งแต่ สมย ศัพท์จนถึง อาตาป ศัพท์ ผู้วิจัยได้เลือกเอาบทบาลีมา ศึกษาวิเคราะห์เพียง ๒๐ ศัพท์ ตามหลักคัมภีร์สัททาวิเสส ๔ กลุ่ม ดังนี้ ๑) ด้านหลักภาษา คือการ แยกแยะให้เห็นที่มาของรูปศัพท์หรือบทบาลี แสดงการประกอบของธาตุ ปัจจัย มี สมย = ส /สม + อิ/ เอ/อย/ยา + อ เป็นต้น ๒) ด้านพจนานุกรม มีสมย ศัพท์ ใช้ในความหมาย ๙ อย่าง เป็นต้น ๓) ด้าน ฉันทลักษณ์มีอนุฏฐุภาฉันท์ ๘ พยางค์ ที่เป็นปฐมภการวิปุลาคาถา เป็นต้น และ ๔) ด้านอลังการ ๕ อย่าง มีปสาทคุณ เป็นต้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/96
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.