Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/94
Title: บทบาลีในคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี ปัญจิกา อัตถโยชนา ตามสูตรคัมภีร์สัททาวิเสส : ศึกษาเชิงวิเคราะห์
Other Titles: Pali Words in Abhidhammatthavibhāvinī Pancikā Atthayojanā Through Saddāvisesa Texts: An Analytical Study
Authors: พระมหาโกมล กมโล, พระมหาชิต ฐานชิโต, ดร. ผศ.ดร.
Keywords: คัมภีร์สัททาวิเสส
คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี
ปัญจิกา
อัตถโยชนา
Issue Date: 2561
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของคัมภีร์อภิธัมมัตถ สังคหะและคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี ปัญจิกา อัตถโยชนา (2) เพื่อวิเคราะห์บทบาลีตามสูตรคัมภีร์ สัททาวิเสสในคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีปัญจิกา อัตถโยชนา สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า พระอนุรุทธาจารย์ ท่านเป็นชาวอินเดียใต้เกิดที่เมืองท่ากาเวริ เขต เมืองกัญจิปุระ แคว้นโจฬะ ต่อมาได้พักอยู่ที่เมืองตัญโช แคว้นตัมพะ แถบอินเดียใต้ติดชายฝั่ง มหาสมุทร บางครั้งก็พักอยู่ที่วัดมหาเมฆวันใกล้เจดีย์โสวัณณมาลีเมืองอนุราธบุรี ประเทศศรีลังกา ได้ รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะตามค าของร้องของนัมพอุบาสกผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด และมีคัมภีร์ก่อนหน้า นี้ที่ท่านได้รจนาคือคัมภีร์ปรมัตถวินิจฉัยและคัมภีร์นามรูปปริจเฉท ท่านรจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นคัมภีร์สุดท้าย คัมภีร์นี้จึงเปรียบเสมือนเพชรน้ าเอกที่ผ่านการเจียระไนมาเป็นอย่างดีไม่มีเพชรเม็ด ใดทัดเทียมได้ตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบัน พระญาณกิตติเถระแห่งล้านนา ท่านเป็นชาวเชียงใหม่ มีอาวุโสกว่าพระสิริมังคลาจารย์ จ าพรรษาอยู่วัดปนสาราม (สวนต้นขนุน) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครเชียงใหม่ ท่านเป็น พระอาจารย์ของพระเจ้าติโลกราช และเคยไปศึกษาที่ประเทศลังกาในรัชกาลกษัตริย์กรุงลังกาปรัก กรมพาหุที่ 6 และพระเจ้าภูวเนกพาหุที่ 6 (พ.ศ. 1955-2014) ผลงานของท่านที่ได้รจนาคัมภีร์อธิบาย เรื่องเกี่ยวกับพระวินัย พระอภิธรรมและบาลีไวยากรณ์รวมแล้ว 8 คัมภีร์หนึ่งในนั้น คือคัมภีร์ อภิธัมมัตถวิภาวินี ปัญจิกา อัตถโยชนา ซึ่งท่านได้รจนาคัมภีร์นี้ที่วัดปนสาราม เมื่อ พ.ศ. 2045 หลักการส าคัญในการรจนาคัมภีร์โยชนา คือด้วยความเป็นนักปราชญ์ที่ทรงภูมิความรู้ ความเชี่ยวชาญของพระญาณกิตติเถระนักปราชญ์ล้านนานี้ท่านได้น าเสนอเนื้อหาที่ปรากฏในคัมภีร์ อภิธัมมัตถวิภาวินี ปัญจิกา อัตถโยชนา ที่เป็นแนวทางในการรจนาคัมภีร์โยชนาฉบับนี้มี 4 ประการ คือ (1) วากยานุสัมพันธ์-การสัมพันธ์ประโยค (2) รูปวิเคราะห์สมาส ตัทธิต และกิตก์ พร้อมกับการ ประกอบรูปศัพท์มีกระบวนการสร้างค าโดยน าสูตรจากกลุ่มคัมภีร์สัททาวิเสส มีคัมภีร์กัจจายนะ เป็นต้น รวมสูตรที่ปรากฏในปริจเฉทที่ 1 จ านวน 238 สูตร บรรดาสูตรเหล่านั้น วิธิสูตรมีจ านวนมาก ที่สุด คือ 228 สูตร (3) ความหมายของอุปสัคและนิบาต (4) ความสัมพันธ์ของประโยคภาษาบาลี อนึ่ง พระญาณกิตติเถระเป็นผู้แตกฉานไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เป็นปราชญ์ผู้รอบรู้ หลักธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง จึงสามารถรจนาคัมภีร์โยชนาฉบับนี้ให้เป็นที่ยอมรับของปราชญ์ในสมัยก่อน จวบจนถึงปัจจุบัน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/94
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.