Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/937
Title: | ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังฆสภากับรัฐสภา |
Authors: | ดร.วิโรจน์, คุ้มครอง |
Keywords: | ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังฆสภากับรัฐสภา |
Issue Date: | 28-Apr-2559 |
Abstract: | พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ ผู้เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ในพระพุทธศาสนา ทอดพระเนตรเห็นพวกปริพาชก นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาประชุมกันกล่าวธรรมกันทำให้นักบวชเหล่านั้นมีประชาชนเคารพนับถืออย่างกว้างขวาง ทรงปรารภจะให้ภิกษุในพระพุทธศาสนาทำอย่างนั้นบ้างจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลพระราชดำรินั้น พระพุทธองค์ทรงประทานพระพุทธานุญาตให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักข์ ต่อมาทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สวดปาติโมกข์ทำอุโบสถโดยความพร้อมเพรียงกัน และทรงอนุญาตให้สมมติสีมา อันเป็นเขตแดนกำหนดสีมา โดยกำหนดภูเขาและก้อนหินเป็นต้นเป็นเครื่องหมาย แห่งนิมิต แล้วทรงแสดงวิธีสวดสมมติสีมาด้วยเครื่องหมายเหล่านั้น ฉะนั้นสีมาจึงเปรียบเสมือนเป็นสังฆสภาของพระสงฆ์ในการทำสังฆกรรมต่างๆ ที่สำคัญ มีการสวดพระปาติโมกข์ การอุปสมบทเป็นต้น สังฆสภาในบริบททางพระพุทธศาสนา เป็นแนวคิดของพระพุทธเจ้าที่ทรงมอบความเป็นใหญ่แก่พระสงฆ์ โดยผ่านทางสีมาในฐานะเป็นสังฆสภาในการดำเนินกิจการของพระศาสนาและการทำสังฆกรรมต่างๆ เช่น พระองค์ทรงอนุญาตพระสงฆ์มีจำนวน ๔ รูป สวดปาติโมกข์ได้เพื่อความพร้อมเพียงของหมู่คณะ ถ้ามี ๓ รูป หรือ ๒ รูป ให้ประชุมกันบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน เรียกว่าปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีรูปเดียวให้ปัดกวาดสถานที่คอยภิกษุอื่น เมื่อไม่เห็นมาให้อธิษฐานคือตั้งใจระลึกว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ถ้าไม่ทำ ต้องอาบัติทุกกฎ จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญกับสีมาในฐานะเป็นสังฆสภาของสงฆ์ ในการทำสังฆกรรมต่างๆ ที่สำคัญเป็นอย่างมาก ส่วนอุดมการณ์แบบสังฆาธิปไตยในพระพุทธศาสนาหมายถึง สงฆ์มีอำนาจเป็นใหญ่ในองค์กรเป็นระบอบการปกครองของพระสงฆ์ที่เรียกว่า สังฆาธิปไตย เป็นแนวคิดหรือทฤษฎีอย่างหนึ่งที่พุทธบริษัททั้ง ๔ อยู่ภายใต้อำนาจของสงฆ์หรือ จะพูดให้ชัดก็ต้องระบุว่า สงฆ์มีอำนาจ สงฆ์เป็นใหญ่ อำนาจไม่ใช่ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และพระองค์ได้ตรัสถึงความสำคัญของพระสงฆ์ไว้ว่า ถ้าเมื่อใดสงฆ์ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ เมื่อนั้นเราก็มีความเคารพในสงฆ์ จะเห็นได้ว่าเมื่อพระองค์ทรงมอบความเป็นใหญ่แก่พระสงฆ์ ในการทำสังฆกรรมต่างๆแล้วก็ทรงเป็นนักประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ เมื่อสงฆ์มีมติอย่างไรแล้วพระองค์ก็มีมติอย่างนั้นไม่คัดค้านจึงตรัสว่า เรามีความเคารพในพระสงฆ์ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/937 |
Appears in Collections: | บทความ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
(๓) บทความ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังฆสภากับรัฐสภา 28 -2-59(ดร.โจ).pdf | ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังฆสภากับรัฐสภา | 165.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.