Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/934
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorผศ.ดร.วิโรจน์, คุ้มครอง-
dc.contributor.authorพระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท, อินทะโพธิ์-
dc.date.accessioned2022-07-26T07:15:24Z-
dc.date.available2022-07-26T07:15:24Z-
dc.date.issued2561-03-20-
dc.identifier.otherMCU RS ๐๖๕๕๐๖๓-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/934-
dc.description155 หน้าen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของภาษาบาลี (๒) เพื่อศึกษาการใช้ภาษาบาลีในภาษาไทย (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คำบาลีที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีมาตั้งแต่อดีตกาลประมาณ ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว เป็นภาษาถิ่นภาษาหนึ่งที่ใช้พูดกันในแถบแคว้นมคธ เรียกว่า มาคธภาษา ตามชื่อแคว้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นพระองค์ทรงใช้ภาษามคธหรือ ภาษาบาลีเป็นภาษาในการประกาศพระพุทธศาสนา ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีหลักแน่นอนในการเปลี่ยนแปลงรูปคำตามหน้าที่ทางไวยากรณ์ มีวิภัตติ ปัจจัยบ่งบอกหน้าที่ของตน และมีความสัมพันธ์ของคำที่มีประโยคทุกคำ ไวยากรณ์ในภาษาบาลีแบ่งเป็น ๔ ภาค คือ ๑. อักขรวิธีแบบแสดงอักษร ๒. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น ๖ ส่วน ๓. วากยสัมพันธ์ ว่าด้วยการก คือ ผู้ทำและผู้ถูกทำ ๔. ฉันทลักษณะแสดงวิธีแต่งฉันท์ คือคาถาที่เป็นวรรณพฤทธิและมาตราพฤทธิเรียกว่า ร้อยกรองบ้าง คาถาบ้าง เป็นภาษาที่มีความสำคัญในการรักษาพระพุทธพจน์ ผู้ที่เรียนภาษาบาลีหรือจะใช้ภาษาบาลีจึงต้องเรียนรู้แบบแผนนั้นๆ ให้เข้าใจ จดจำได้จึงจะเข้าใจภาษาบาลีได้ การใช้ภาษาบาลีในภาษาไทยมีทั้งทางวิชาการและในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการสื่อสารโดยการพูดและการเขียนซึ่งมีคำภาษาบาลีปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะคนไทยได้รับอิทธิพลทางภาษามาจากภาษาบาลีที่เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย สาเหตุจากการยอมรับนับถือศาสนาพุทธของคนไทยเป็นสำคัญ อีกทั้งคนไทยยังนิยมใช้ภาษาบาลีในการตั้งชื่อซึ่งเป็นสิ่งสมมติขึ้น แต่ถ้าตั้งชื่อให้เหมาะสมกับจริตและอุปนิสัยของบุคคลนั้น ชื่อก็จะกลายเป็นสิ่งสำคัญและเป็นอัตลักษณ์ของผู้นั้น และสามารถนำประโยชน์สุขมาให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนการวิเคราะห์คำบาลีที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ภาษาไทยในการ พูด สนทนา และการสื่อสารให้เป็นภาษาไทยในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจได้ เช่น คำ กาย เป็นต้น ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาบาลีกับภาษาไทยอย่างรู้ลึก รู้รากศัพท์ และรู้ความหมายที่ถูกต้องจึงมีคุณค่าแก่การศึกษาอย่างแท้จริงen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ภาษาบาลีในภาษาไทยen_US
dc.titleการวิเคราะห์ภาษาบาลีในภาษาไทยen_US
dc.title.alternativeA Critical of Pali Language in Thai Languageen_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.