Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/933
Title: คัมภีร์สีมาวิโสธนี: การปริวรรต การแปล และวิเคราะห์
Other Titles: Sīmāvisodhanī: Transliteration. Translation. and Analysis
Authors: พระศรีสุทธิเวที, ขวัญ ถิรมโน (แดงหน่าย) ผศ. ดร.
ผศ.ดร.วิโรจน์, คุ้มครอง
พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, คำเคน ดร.
Keywords: คัมภีร์สีมาวิโสธนี
Issue Date: 1-Nov-2563
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สีมาวิโสธนีในด้านประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้างเนื้อหา หลักไวยากรณ์ และความสัมพันธ์กับคัมภีร์อื่น ๆ (๒) เพื่อปริวรรตคัมภีร์สีมาวิโสธนีจากภาษาบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมและสังฆกรรมของพระสงฆ์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ มีการวิเคราะห์คัมภีร์ในด้านประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้าง เนื้อหา หลักไวยากรณ์ นำคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่เป็นภาษาบาลีอักษรพม่าปริวรรตให้เป็นบาลีอักษรไทยและแปลเป็นภาษาไทย วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมและสังฆกรรมของพระสงฆ์ ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์สีมาวิโสธนี เป็นคัมภีร์ว่าด้วยการชำระสีมา อธิบายเรื่องสีมาที่บริสุทธิ์ถูกต้องตามพระวินัย กล่าวคือเขตที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นที่ให้สงฆ์ประชุมทำสังฆกรรมมีการอุปสมบทเป็นต้น พระสาครพุทธิเถระแต่งอธิบายใน ๕ หัวข้อคือ อุปสมบทกัณฑ์ กัปวินาศกัณฑ์ นิพพานกัณฑ์ สมสีสีกัณฑ์ และปกิณณกกัณฑ์ มีลักษณะของการประพันธ์เป็น ๒ แบบ คือ แบบร้อยแก้ว (การดำเนินเรื่องแบบธรรมดา) และแบบร้อยกรอง (การดำเนินเรื่องในรูปแบบคาถา) ท่านมีความรู้และความเข้าใจในภาษาบาลีเป็นอย่างดีได้แต่งคัมภีร์โดยใช้นามศัพท์ กิริยาศัพท์ และอัพพยศัพท์ได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา และหลักไวยากรณ์ วิธีการปริวรรตบาลีอักษรพม่าใช้เขียนภาษาบาลีเขียนจากซ้ายไปขวา รูปอักษรมีลักษณะโค้งมนค่อนข้างกลม การเรียนรู้ถึงรูปอักษรพม่าอันประกอบด้วย พยัญชนะ สระ ตัวเลข ผู้ศึกษาต้องฝึกหัดเขียนสระ พยัญชนะ พร้อมทั้งการประสมคำต่าง ๆ และต้องสามารถถ่ายถอดหรือปริวรรตบาลีอักษรพม่าให้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา ส่วนความสัมพันธ์คัมภีร์สีมาวิโสธนีกับคัมภีร์อื่น ๆ คือ พระสาครพุทธิเถระชาวพม่าได้แต่งคัมภีร์สีมาวิโสธนีมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก โดยนำคำสำคัญในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาอธิบายในคัมภีร์สีมาวิโสธนีให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ทำการปริวรรตคัมภีร์สีมาวิโสธนีจากภาษาบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย อุปสมบทกัณฑ์ กัปวินาศกัณฑ์ นิพพานกัณฑ์ สมสีสีกัณฑ์ ปกิณณกกัณฑ์สำเร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ทำการแปลจากภาษาบาลีอักษรไทยเป็นภาษาไทยในอุปสมบทกัณฑ์ กัปวินาศกัณฑ์ นิพพานกัณฑ์ สมสีสีกัณฑ์ และปกิณณกกัณฑ์สำเร็จเรียบร้อยแล้ว วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมและสังฆกรรมของพระสงฆ์ แบ่งออกเป็น ๑) วิเคราะห์เรื่องสีมาในคัมภีร์สีมาวิโสธนีสีมา สีมา คือ เขตความพร้อมเพรียงของสงฆ์ในการทำสังฆกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตสีมา และทรงกำหนดให้พระสงฆ์สาวกต้องประชุมทำร่วมกันในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อมิให้ฆราวาสเข้ามายุ่งเกี่ยว ในคัมภีร์สีมาวิโสธนี กล่าวถึงสีมาทั้งหมด ๑๙ ชนิด เช่น ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา เป็นต้น ๒) วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อวินัยกรรมของพระสงฆ์ ทรงบัญญัติพระวินัยเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับเรื่องสีมากับการสวดปาติโมกข์ เช่น ภิกษุทั้งหลายพากันสวดปาฏิโมกข์ทุกวัน พระพุทธเจ้าตรัสห้ามและทรงปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น ทรงอนุญาตให้สวดเฉพาะวันอุโบสถ เป็นต้น และ ๓) วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สีมาวิโสธนีที่มีต่อสังฆกรรมของพระสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารคณะ และทำสังฆกรรมต่าง ๆ คือกิจที่จะต้องทำเป็นการสงฆ์ กล่าวคือสงฆ์จะต้องรับรู้ในกรรมที่ทำเหล่านั้น เรียกว่า สังฆกรรมมีอยู่ ๔ ประเภทคือ ๑) อปโลกนกรรมเป็นสังฆกรรมที่พระสงฆ์ไม่ต้องทำภายในสีมา ส่วน ๒) ญัตติกรรม ๓) ญัตติทุติยกรรม และ ๔) ญัตติจตุตถกรรมเป็นสังฆกรรมที่พระสงฆ์ต้องทำภายในสีมา ตัวอย่างเช่น การอุปสมบทเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติจตุตถกรรมที่พระสงฆ์ต้องทำภายในสีมา เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ถ้าสงฆ์มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่มีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคัดค้าน ผู้ที่จะบวชนั้นก็จะสำเร็จเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์ และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้ โดยต้องผ่านเครื่องมือที่สำคัญคือสีมาจึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัย The objectives of this research are: (1) to study Sīmāvisodhanī scriptures including history, structure, content, grammar related to other scriptures, (2) to transliterate Sīmāvisodhanī from Pali Burmese script into Pali Thai script, and (3) to analyze the value of Sīmāvisodhanī scriptures dealing with disciplinary acts and the Sangha’s functions. It was a documentary research focusing on scriptures analysis, author’s life, its structure, grammatical content, then transliterating the said scripture with Pali Burmese script into Thai characters and translated into Thai and after that analyzing the value of scriptures concerning with disciplines and Sangha’s duties. The results shown that Sīmāvisodhanī contains Sīmā or temple precinct cleansing, an explaining of Sīmā allowed by the Buddha, that is to say, the area accepted for Sangha’s assembly for ritual conducting such as ordination etc. Venerable Sagarabuddhithera had composed commentary on 5 topics, i.e., Upasampadakamma, Kappavinasakaṇḍa, Nibbānakaṇḍa, Samasīsīkaṇḍa, and Pakiṇṇakakaṇḍa. There are two types of writing: prose (Simple statement) and verse (Incantations) which signified his excellence on Pali language seen in his text composition using correct nouns, verbs, and terminology based on linguistic principles and grammar. For its transliteration, Pali Burmese manuscript was written from left to right. The letters are rounded. For learning the Burmese alphabet, which consists of consonants, vowels, numbers, students have to practice writing vowels, consonants and combinations of words, and transcribe Pali Burmese characters into Pali Thai ง characters, and finally correctly translated into Thai language. For the relation between Sīmāvisodhanī and other scriptures, the Burmese Sagarabuddhithera had composed the Sīmāvisodhanī scriptures that are consistent to Tipitaka by bringing the key words in Tipitaka, commentary, sub-commentaries, and Visuddhimagga to be clearly explained in Sīmāvisodhanī scriptures. The said scripture was firstly transliterated from Pali Burmese script into Pali Thai script, then completed the translation into Thai language including Upasampadakamma, Kappavinasakaṇḍa, Nibbānakaṇḍa, Samasīsīkaṇḍa, and Pakiṇṇakakaṇḍa. An analysis of its value dealing with the disciplines and Sangha’s works was divided into; 1) an analysis of Sīmā or temple precincts shown that Sīmā is the boundary of Sangha’s unity for necessary works. The Buddha allowed Sīmā and required what the Sangha together must accomplished in the specified area only to prevent any interfering of lay people. In Sīmāvisodhanī scripture, there are a total of 19 types of Sīmā , for example, Khaṇḍasīmā , Upacārasīmā , Samānasanvāsasīmā etc., 2) analysis of the value of disciplinary rules for Sangha was seen that the additional rules related to Patimokkha recitation was allowed by the Buddha, for example, Patimokkha recitation was not allowed in every day, and imposed the fine called Dukkaṭa for those who had broken such rule, but he allowed only once in a month (Uposatha), and 3) analysis the value of Sangha’s works involved revealed that the Buddha wished to transfer legitimacy order to Sangha for administration in all Buddhist functions as well as works must be done under Sangha’s decision, that is to say, Sangha must recognize all works called Sanghakamma which contains 4 types; 1) Apalokanakamma in which Sangha can accomplish outside the precinct, while all of 2) Ñattikamma or a motion, 3) Ñattidutiyakamma, 4) Ñatticatutthakamma, must be accomplished inside the precinct only. For example, an ordination is a type of Ñatticatutthakamma requires the permission from Sangha inside the precinct, if Sangha has a unanimous resolution, no Bhikkhus oppose it, that ordination will be completely correctly. This method of ordination continues up to today and the functions must be accomplished only inside Sīmā for correct discipline of Buddhist tradition.
Description: 453 หน้า
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/933
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.