Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/932
Title: คัมภีร์สุจิตตาลังการ: การปริวรรต การแปล และวิเคราะห์
Other Titles: Sucittālaṅkāra: Transliteration Translation and Analysis
Authors: ดร.วิโรจน์, คุ้มครอง
Keywords: คัมภีร์สุจิตตาลังการ
Issue Date: 10-Nov-2560
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อปริวรรตคัมภีร์สุจิตตาลังการจากต้นฉบับภาษาบาลีอักษรขอมเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สุจิตตาลังการในด้านประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้าง เนื้อหา ลักษณะการประพันธ์ สำนวนภาษา และการจารลงใบลาน (๓) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์สุจิตตาลังการที่มีต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ นำคัมภีร์สุจิตตาลังการที่เป็นภาษาบาลีอักษรขอมฉบับหอสมุดแห่งชาติปริวรรตให้เป็นบาลีอักษรไทยและแปลเป็นภาษาไทย มีการวิเคราะห์คัมภีร์ในด้านประวัติผู้เรียบเรียง โครงสร้าง เนื้อหา ลักษณะการประพันธ์ สำนวนภาษา และการจารลงใบลาน วิเคราะห์คัมภีร์สุจิตตาลังการที่มีต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาเช่นการเรียนการสอนพระอภิธรรมเป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์สุจิตตาลังการฉบับหอสมุดแห่งชาติ จำนวน ๓ ผูก ที่ปริวรรตจากบาลีอักษรขอมมาเป็นบาลีอักษรไทย คือ ปริวรรตคัมภีร์สุจิตตาลังการจากบาลีขอมเป็นบาลีอักษรไทยผูกที่ ๑ ปริวรรตคัมภีร์สุจิตตาลังการจากบาลีขอมเป็นบาลีอักษรไทยผูกที่ ๒ ปริวรรตคัมภีร์สุจิตตาลังการจากบาลีขอมเป็นบาลีอักษรไทยผูกที่ ๓ และผู้วิจัยได้ทำการแปลคัมภีร์สุจิตตาลังการที่เป็นบาลีอักษรไทยให้เป็นภาษาไทยทั้งหมด จำนวน ๓ ผูก คือ แปลคัมภีร์สุจิตตาลังการจากเป็นบาลีไทยเป็นภาษาไทยผูกที่ ๑ แปลคัมภีร์สุจิตตาลังการจากเป็นบาลีไทยเป็นภาษาไทยผูกที่ ๒ และแปลคัมภีร์สุจิตตาลังการจากเป็นบาลีไทยเป็นภาษาไทยผูกที่ ๓ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว คัมภีร์สุจิตตาลังการนี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายเรื่องเกี่ยวกับพระอภิธรรมไว้โดยย่อ เปรียบเสมือนแบบเรียนเร็วรจนาโดยพระกัลยาณเถระแห่งประเทศพม่า ฉบับหอสมุดแห่งชาติใบลานเลขที่ ๓๖๘๗/ข/๑-๓ ต. ๑๘ ช. ๒ มี ๓ ผูก มีจัดเรียงโครงสร้างเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ ๑๗ หมวด ได้แก่ ๑.บุคคลเภท ๒. เวทนาเภท ๓. เหตุเภท ๔. กิจจถานเภท ๕. ทวารเภท ๖. อารัมมณเภท ๗. วัตถุเภท ๘. มันทามันทมัชฌิมายุกเภท ๙.ปัญจทวารวิถีเภท ๑๐. มโนทวารวิถิเภท ๑๑. ปกิณณก วินิจฉยเภท ๑๒. ภูมิฐานเภท ๑๓. สตฺตานังอายุเภท ๑๔. กัปปวินาสเภท ๑๕. โยนิเภท ๑๖. รูปกลาปเภท ๑๗.นิพพานเภท มีลักษณะการประพันธ์ ๒ อย่างคือ ๑. แบบร้อยแก้ว เป็นการดำเนินเรื่องตามธรรมดา ๒. แบบร้อยกรอง หรือ ฉันทลักษณ์ มี ๓ ฉันท์ คือ ๑. ปัฐยาวัตร ๒. อุปชาติฉันท์ ๓. กุสุมวิจิตตาฉันท์ มีสำนวนภาษาแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ๑. วิธีการใช้นามศัพท์ ๒. วิธีการใช้กิริยาศัพท์ ๓.วิธีการใช้อัพยยศัพท์ตามหลักไวยากรณ์ทุกประการซึ่งหอสมุดแห่งชาติเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เพราะเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมพระอภิธรรมที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนาในรูปของบาลีอักษรขอมสมัยโบราณซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ และการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออนุชนคนรุ่นหลังต่อไป ส่วนการวิเคราะห์คัมภีร์สุจิตตาลังการที่มีต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๓ ผูก คือ ผูกที่ ๑ เช่น คำว่า อสัญญสัตว์ในพระอภิธรรมปิฎก พระกัลยาณเถระอธิบายว่า คำว่า อสัญญสัตว์ พระกัลยาณเถระอธิบายว่า คำว่า อสัญญสัตว์ หมายถึง อสัญญสัตว์มีบุคคลประเภทเดียว ได้แก่ อสัญญสัตตพรหมโลก เป็นต้น ผูกที่ ๒ เช่น คำว่า จุติจิตในพระอภิธรรมปิฎกพระกัลยาณเถระอธิบายว่า คำว่า จุติจิต หมายถึง จุติจิตที่มี ๕๑ ดวง เป็นต้น และผูกที่ ๓ เช่น คำว่า มหากุศลจิตในพระอภิธรรมปิฎกพระกัลยาณเถระอธิบายว่า คำว่า มหากุศลจิต มีอัปปนาชวนะ ๑๒ ดวง เป็นต้น มีการวิเคราะห์คำศัพท์เช่น คำว่า จิต มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใด ย่อมคิด เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า จิต มีการวิเคราะห์การใช้ถ้อยคำเช่น คำว่า ฐาน เป็น ถาน เช่น กามโลเก ทส ถานานิ ภวนฺติ แปลว่า ในกามโลก ฐานมี ๑๐ คำว่า ถาน นี้ มีใช้ในคัมภีร์สุจิตตาลังการเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยเข้าใจว่า ต้นฉบับในคัมภีร์สุจิตตาลังการใช้คำว่า ถาน ไม่ใช้ ฐาน แต่ในเวลาแปลแล้วแปลเหมือนกัน คือ ที่ตั้ง แต่ไม่ค่อยพบในคัมภีร์อื่นๆ ส่วนการวิเคราะห์การเรียนการสอนพระอภิธรรมในคัมภีร์สุจิตตาลังการ โดยพระกัลยาณเถระได้รจนาตามแนวของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะมีเนื้อหาที่สละสลวยจัดเป็นหมวดหมู่เป็นเรื่องๆ จำนวน ๑๗ หมวด กล่าวถึงปรมัตถธรรม ๔ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งจำแนกจิตออกโดยประเภทต่างๆ เพื่อให้กุลบุตรสามารถเรียนรู้พระอภิธรรมได้ง่าย
Description: 273 หน้า
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/932
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research reports)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
งานวิจัย คัมภีร์สุจิตตาลังการ.pdf14.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.