Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/929
Title: มัชฌิมนิกายปาลิ
Other Titles: Majjhimanikaya Pali
Authors: ผศ.ดร.วิโรจน์, คุ้มครอง
Keywords: มัชฌิมนิกายปาลิ
Issue Date: 1-Jun-2561
Publisher: บริษัท บีพีเค พริ้นติ้ง จำกัด
Abstract: เอกสารคำสอนในรายวิชา มัชฌิมนิกายปาลิ รหัส ๑๐๕ ๒๒๑ สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือศึกษาพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานชั้นต้นบรรจุคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระสาวกสำคัญบางรูป รวบรวมหลักคำสั่งสอนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ไว้เป็นหมวดหมู่ ดุจเดียวกับตะกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ ไว้ฉะนั้น พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาเถรวาทบันทึกไว้เป็นภาษาบาลี ในประเทศไทยมีพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับอักษรไทยที่พิมพ์เป็นมาตรฐาน ๔๕ เล่ม คือ เล่มที่ ๑ - เล่มที่ ๘ เป็นพระวินัยปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ที่เป็นพระวินัยอันเป็นพุทธบัญญัติ เล่มที่ ๙ - เล่มที่ ๓๓ เป็นพระสุตตันตปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ที่เป็นพระสูตร เล่มที่ ๓๔ - เล่มที่ ๔๕ เป็นพระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ที่เป็นพระอภิธรรม เฉพาะพระสุตตันตปิฎก ซึ่งมีข้อความยาวมากที่สุดเป็นหนังสือถึง ๒๕ เล่ม ท่านแบ่งเรื่องออกเป็น ๕ กลุ่ม เรียกว่า “นิกาย” คือ (๑) ทีฆนิกาย (๒) มัชฌิมนิกาย (๓) สังยุตตนิกาย (๔) อังคุตตรนิกาย (๕) ขุททกนิกาย เอกสารคำสอนในรายวิชา มัชฌิมนิกายปาลิ อยู่ในกลุ่มที่ ๒ คือมัชฌิมนิกาย รวมอยู่ในพระไตรปิฎก ๓ เล่ม คือ เล่มที่ ๑๒-๑๓-๑๔ ในมัชฌิมนิกายนี้เองท่านยังจัดแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น ๓ หมวด เรียกว่า “ปัณณาสก์”แปลว่า “หมวดห้าสิบ” เพราะรวมเรื่องไว้หมวดละ ๕๐ พระสูตร ปัณณาสก์ทั้งสามได้แก่ ๑. มูลปัณณาสก์ แปลว่า ปัณณาสก์ต้น ๒. มัชฌิมปัณณาสก์ แปลว่า ปัณณาสก์กลาง ๓. อุปริปัณณาสก์ แปลว่า ปัณณาสก์ปลาย แต่ละปัณณาสก์แบ่งย่อยเป็นวรรคได้ ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร ยกเว้นวิภังควรรคในอุปริปัณณาสก์มี ๑๒ สูตร รวมพระสูตรในมัชฌิมนิกายทั้งหมดจึงเป็น ๑๕๒ พระสูตร เอกสารคำสอนในรายวิชา มัชฌิมนิกายปาลิ ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นิสิตนักศึกษาเป็นเบื้องต้น ในการที่จะเข้าไปศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้เนื้อหาในคัมภีร์มัชฌิมนิกายทั้ง ๓ เล่ม คือ เล่มที่ ๑๒-๑๔ เพื่อศึกษาชื่อ ที่มา เนื้อหาและสาระสำคัญ ข้อสังเกต โดยวิเคราะห์เหตุเกิดพระสูตร สถานที่เกิดพระสูตร บุคคลสำคัญในพระสูตร และหลักธรรมในพระสูตรนั้นๆ เป็นต้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/929
Appears in Collections:เอกสารประกอบการสอน (Teaching Publications)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.