Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/886
Title: | การเสริมสร้างเครือข่ายในการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมตามหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Network Promotion in Ecology Culture Management Accading to Buddhism in Phetchabun Province |
Authors: | วิจิตรปัญญา, สราวุฒย์ พระครูประโชติพัชรพงศ์ ธมฺมรํสี, พระมหาธวัชชัย กุลผาย, นรุณ |
Keywords: | การเสริมสร้างเครือข่าย การจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาสภาพความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อความยั่งยืนทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างในการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งเป็นการสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการเสริมสร้างในการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนงานระบบนิเวศให้สำเร็จจุดประสงค์ได้จะขาดมิได้คือผู้ปฏิบัติการ ดังนั้นจึงเสนอ รูปแบบการจัดการระบบนิเวศด้านผู้ปฏิบัติการจะต้องมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความรู้มีสติปัญญาในการจัดการระบบนิเวศ คือ ความรู้ความเข้าใจในแผนงานและนโยบาย เป็นผู้มีทักษะและความสามารถในการจัดการระบบนิเวศ คือ มีความเป็นคนที่สามารถฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการดำเนินงานด้านระบบนิเวศ และดำเนินการโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการจัดการระบบนิเวศ คือ กระบวนการอย่างหนึ่งที่จะทำให้การจัดการระบบนิเวศดำเนินไปได้ จะต้องดำเนินการให้คนในชุมชนมีส่วนในการบริหารจัดการ โดยการใช้หลัก ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัด ระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่าย ราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็น ข มนุษย์ และการปกครองแบบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทยรัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบันนั่นคือ 1. หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ แสดงความคิดเห็น ในการตัดสินใจปัญหาสิ่งแวดและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนไม่ว่าด้วยการแจ้งความการไต่สวนสาธารณะ การประชาสัมพันธ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ 2. หลักความร่วมรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ในการจัดการระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใส่ใจกับปัญหาและการกระตือรือร้นช่วยเหลือแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะรับผลจากการกระทำของตนเอง เป็นต้น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/886 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-274 ดร.สราวุฒย์.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.