Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/881
Title: | จิตอาสาคิลานธรรมตามแนววิถีพุทธ |
Other Titles: | THE VOLUNTEER SPIRIT IN THE BUDDHIST WAY |
Authors: | ปฏิภาณเมธี, พระมหาภาณุวัฒน์ |
Keywords: | จิตอาสา คิลานธรรม วิถีพุทธ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานบริการรับใช้สังคมเรื่อง จิตอาสาคิลานธรรมตามแนววิถีพุทธ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๑. เพื่อพัฒนาพระสงฆ์และบุคลากรในการสร้างจิตอาสาคิลานธรรมตามแนววิถีพุทธ ๒. เพื่อสร้าง เครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างจิตอาสาคิลานธรรมตามแนววิถีพุทธ ๓. วิเคราะห์ผลลัพธ์ของ การดาเนินการจิตอาสาคิลานธรรมตามแนววิถีพุทธ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พระสงฆ์ในพื้นที่จังหวัด ลาปาง นิสิตของวิทยาลัยสงฆ์นครลาปาง แพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล อาสาสมัคร สาธารณสุข และผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย จากการศึกษา พบว่า กิจกรรมเยียวยาจิตใจผู้ป่วยด้วยธรรมะของกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม เป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะของพระจิตอาสาให้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาตนไปสู่คุณงามความดี ความงอกงามในจิตใจ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงสิ่งที่บกพร่องและเป็นการพัฒนาพฤติกรรมให้ เหมาะสมกับสังคม กระบวนการพัฒนาพระสงฆ์และบุคลากรในการสร้างจิตอาสาคิลานธรรมตามแนว วิถีพุทธนั้น สิ่งแรกต้องพัฒนาในเรื่องของการศึกษา/เรียนรู้ เกี่ยวกับการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติ การเข้าใจและการใช้ปัญญา สิ่งเหล่านี้ต้องเตรียมการสาหรับจิตอาสาที่เข้าร่วมโครงการ และต้อง ฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ โดยการอบรมเรื่อง หลักธรรมที่จะเตรียมพร้อมไปเยี่ยมผู้ป่วย อบรมเรื่อง มารยาทในการพบปะผู้ป่วยในระยะต่างๆ ฯลฯ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบาย แผนงาน วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการตลอดจน การให้ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการ ปฏิบัติงานที่ดีที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ผ่านมา และฝึกฝนพระนิสิตให้ คุ้นเคยกับเทคโนโลยี/เทคนิค/วิทยาการสมัยใหม่ที่จะประยุกต์ใช้ให้เกิดความก้าวหน้าของโครงการ ปฏิบัติตนทั้งในงานและในสังคมส่วนรวมให้แก่พระนิสิต ซึ่งรวมถึงการมอบหมายงานพิเศษ การสอนงาน การให้คาปรึกษา แนะนา การเป็นพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่การงาน การจัด ทัศนศึกษาดูงาน ตลอดจน ต้องมีส่วนร่วมการค้นหาปัญหาการวางแผน การนาโครงการไปฏิบัติ และ การประเมินผล ต้นน้า กลางน้า ปลายน้า ของโครงการร่วมกับทางโรงพยาบาล และหน่วยงานอิสระ หรือองค์กรการกุศล เพื่อช่วยเหลือให้โครงการเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน โดยการจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาจิตอาสาสามารถทาได้ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยเด็กที่เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ปลูกฟังให้ เกิดความเห็นอกเห็นใจ มีเมตตาคอยช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าตนเอง เป็นหัวใจสาคัญในการปลูกฝัง คุณลักษณะจิตอาสาที่สามารถพัฒนาพร้อมกัน สาหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้จาเป็นต้องนาองค์ ความรู้เชิงทฤษฎีมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/881 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-342พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์.pdf | 5.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.