Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/878
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุขทรัพย์ทวีผล, สุนทร-
dc.contributor.authorพระครู, พิพิธจารุธรรม,ดร.-
dc.contributor.authorสินทับสาล, ภูวเดช-
dc.date.accessioned2022-03-31T07:00:58Z-
dc.date.available2022-03-31T07:00:58Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/878-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและแนวโน้มการกระทำอัตวินิบาตกรรมของเยาวชน ๒) เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการกระทำอัตวินิบาตกรรมของเยาวชน และ ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันการกระทำอัตวินิบาตกรรมแก่เยาวชน การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงปฏิบัติ โดยการนำหลักไตรสิกขามาใช้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการกระทำอัตวินิบาตกรรมของเยาวชน มีเนื้อหาจากเอกสารตำราหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการป้องกันการทำอัตวินิบาตกรรมของเยาวชนกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๐๐ คน โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ผลการศึกษาพบว่า ๑) พฤติกรรมการทำอัตวินิบาตกรรมของเยาวชนพบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ๑ ใน ๓ ของเด็กที่ฆ่าตัวตายสำเร็จเคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน ความคิดและการพยายามฆ่าตัวตายพบน้อยในเยาวชนก่อนวัยรุ่น และพบมากขึ้นอย่างชัดเจนในวัยรุ่น อัตราของการพยายามฆ่าตัวตายในวัยรุ่นหญิงสูงกว่าวัยรุ่นชายประมาณ ๓-๗ เท่า วิธีที่เด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมใช้ในการพยายามฆ่าตัวตาย คือ การกินยาแก้ปวดหรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ร้อยละ ๓๐-๕๐ ของเด็กหรือวัยรุ่นที่พยายามฆ่าตัวตาย มีความตั้งใจจริงที่จะตายหรืออย่างน้อยก็ไม่ใส่ใจว่าจะอยู่หรือตาย เหตุกระตุ้นให้วัยรุ่นพยายามฆ่าตัวตายที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ความขัดแย้งกับผู้อื่น ปัญหาที่โรงเรียน การถูกอบรมสั่งสอนหรือลงโทษ การขาดเพื่อนหรือการถูกปฏิเสธไม่ยอมรับ หรือถูกทำให้เสียหน้า ปัญหาการติดยาเสพติดหรือเหล้า การถูกกระทำทารุณ ทั้งการถูกทำร้ายร่างกายและถูกล่วงเกินทางเพศ การสูญเสียบุคคลที่รัก ปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคร้ายแรง การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น ๒) แนวทางการป้องกันการทำอัตวินิบาตกรรมแก่เยาวชนเป็นการประยุกต์หลักไตรสิกขามาบูรณาการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ได้ทฤษฎี ๓ ก. คือ กลัว – กล้า – แกร่งขั้นตอนที่ ๑ ทำให้กลัวด้วยศีล เป็นการทำให้เกิดความตระหนัก หวาดกลัวในโทษที่เกิดจากการฆ่าตัวตายทั้งมิติด้านพระพุทธศาสนาและมิติทางด้านจริยศาสตร์ สามารถกระทำได้โดยการสร้างความเข้าใจในหลักธรรมหิริ-โอตตัปปะ และการสร้างความเข้าใจในหลักกรรมวิบาก ทั้งกรรมในชาติปัจจุบันและกรรมในชาติอนาคต ขั้นตอนที่ ๒ ทำให้กล้าด้วยสมาธิทำได้โดยการพัฒนาจิตด้วยวิปัสสนา และการพัฒนาทัศนคติ ขั้นตอนที่ ๓ ทำให้แกร่งด้วยปัญญา เป็นการพัฒนาไปสู่ภาวะที่ปราศจากปัญหาและความทุกข์ ด้วยการแก้ความทุกข์และปัญหาอย่างถูกต้องนั้น จะต้องนำกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม สามารถทำได้โดยวิธีการที่เรียกว่า ปรโตโฆสะ คือการรับฟังคำแนะนำปรึกษา หาข้อมูล ข่าวสาร และโยนิโสมนสิการ คือ การนำข้อมูลที่ได้จากผู้อื่น (ปรโตโฆสะ) มาไตร่ตรอง ใคร่ครวญด้วยสติปัญญา ความรอบคอบ ความสมเหตุสมผล จนกลายเป็นปัญญาที่ถูกต้องen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิธีการป้องกันen_US
dc.subjectการกระทำอัตวินิบาตกรรมen_US
dc.subjectเยาวชนen_US
dc.titleศึกษาวิธีการป้องกันการกระทำอัตวินิบาตกรรมของเยาวชนen_US
dc.title.alternativeThe Study of the Guideline to prevent the Commitment of Youthen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-168 ดร.สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.