Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/877
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระสังวาน, เขมปญฺโญ (สายเนตร) | - |
dc.contributor.author | พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต | - |
dc.contributor.author | ธมมจโร (สายสิงห์), พระสิริชัย | - |
dc.contributor.author | อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-31T06:59:30Z | - |
dc.date.available | 2022-03-31T06:59:30Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/877 | - |
dc.description.abstract | การผู้วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร ในจังหวัดอำนาจเจริญ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมต้นแบบและบทเรียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ ๓) เพื่อศึกษาวิธีบูรณาหลักพุทธธรรมจะนำไปใช้ในการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ โดยรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับต้นแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบคำถามปลายเปิด ผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำท้องถิ่น จำนวน ๕ คน กลุ่มผู้ทำไร่นาสวนผสม จำนวน ๗ คน และกลุ่มภาครัฐ จำนวน ๕ คน รวมทั้งหมดจำนวน ๑๗ คน เก็บข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัย และสัมภาษณ์แบบเจาะจง ที่มีโครงสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์ในเขตอำนาจเจริญ ผลของการวิจัยพบว่า ๑) การวิเคราะห์ไร่นาสวนผสมของเกษตรกร เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำมาหากินลี้ยงชีวิตของชาวนาหรือเกษตรกร ได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงการพัฒนารูปแบบและบทเรียนการทำไร่นาสวนผสม พบว่า การพัฒนา คือ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จัดระบบการพัฒนา มีการนำหลักการวิชาการ แนวคิดทฤษฎีและประสบการณ์มาปรับใช้ในการปฏิบัติ ๒) แนวคิดพุทธธรรมต้นแบบและบทเรียนตามกรอบเศรษฐกิจพอเพียงในการทำไร่นาสวนผสม โดยนำหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับเกษตรกร คือ สันโดษ สุจริต พรหมวิหาร สังคหวัตถุ เบญจศีล เบญจธรรม และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีกรอบในการดำเนินชีวิตด้วยความรอบรู้และมีคุณธรรม รู้ถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ดังนั้น พุทธธรรมที่นำมาใช้ในกรอบ ปรัชญา แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเกี่ยวกับรู้จักความพอประมาณ ความบริสุทธิ์ยุติธรรม ความมีระเบียบวินัยปรับตน ในตั้งอยู่ในค่านิยมของสังคม เป็นคนเข้าใจรอบครอบ รอบรู้ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาลเวลาบุคคลและผู้นำของสังคม และการเป็นผู้นำแนวปฏิบัติของผู้นำระดับรัฐและประเทศชาติ ๓) วิธีบูรณาการ ธรรมะที่เหมาะสมตามกรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ทราบถึงคุ้มค่าและคุณค่า การจัดทำไร่นาสวนผสม ผลของการศึกษาวิจัยมีการคุ้มค่าและคุณค่า มี ๒ ทาง คือ ทางกายภาพและจิตวิทยา ทางกายภาพได้พัฒนาให้ดีขึ้นคุ้มค่า คุณค่า การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พานิชยกรรม โดยการปรับมัตตัญญุตา อัตตัญญุตา เข้ากับความพอประมาณ ปรับธัมมัญญุตา อัตถัญญุตา เข้ากับความมีเหตุผล และปรับกาลัญญุตา ปริสัญญุตา ปุคตลัญญุตาเข้ากับการมีภูมิคุ้มกันที่ดี การจัดการไร่นาสวนผสม มีการวางแบบการดำเนินการที่ดิน แรงงาน และเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินชีวิต และพบว่า ทางจิตวิทยาได้เกิดการคุ้มค่า คุณค่า จากการพัฒนาด้าน ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยการ เกิดสันติสุข สามัคคี มีการเกื้อกูลกันในการดำเนินชีวิตของเกษตรกร | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ต้นแบบและบทเรียน | en_US |
dc.subject | การพัฒนาไร่นาสวนผสมของเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ | en_US |
dc.title | ต้นแบบและบทเรียนการพัฒนาไร่นาสวนผสมของเกษตรกร จังหวัดอำนาจเจริญ | en_US |
dc.title.alternative | Models and Lessons Learned in Mixed Farming of Agriculturists at Amnatcharoen Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-100 พระสังวาน-เขมปญฺโญ-สายเนตร.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.