Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/876
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | โรจน์กิจจากุล, ธีรทัศน์ | - |
dc.contributor.author | อุทยเมธี, พระสมุห์อุทัย | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-31T06:58:06Z | - |
dc.date.available | 2022-03-31T06:58:06Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/876 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑.เพื่อศึกษาการปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอ ตาบลบ่อ อาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๒. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของ ชุมชนบ้านวังหมอ ตาบลบ่อ อาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน และ ๓. เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอ ตาบลบ่อ อาเภอเมืองน่าน เป็น การวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นสาคัญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างจานวน ๒๐๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน ของชุมชนบ้านวังหมอ ในภาพรวมจากการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ด้านที่มีปัญหาและ อุปสรรคมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน ส่วนด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วน ร่วมในการรับผลประโยชน์ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์รายข้อ ข้อที่เป็นประเด็นปัญหามากที่สุด คือ ประชาชนไม่รับรู้/ เข้าใจ ในกระบวนการการมีส่วนร่วมดาเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการและอนุรักษ์ป่าชุมชน ส่วนข้อที่เป็น ปัญหาน้อยที่สุด คือ ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการและอนุรักษ์ป่าชุมชน และ ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการและอนุรักษ์ป่าชุมชนไม่ยั่งยืน ๒. กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน คณะผู้วิจัยดาเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และประชาชนในชุมชน ซึ่งมีรายขั้นตอน ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ออกแบบกระบวนการการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน ๒) ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นาศาสนาคริสต์ ผู้นาศาสนาพุทธ และประชาชนในพื้นที่ ๓) คณะวิจัยดาเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับ การอนุรักษ์และจัดการป่าชุมชน และ ๔) ผู้เข้าร่วมกระบวนการความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็น ข ๓. การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านวังหมอได้รับความ ร่วมมือจากผู้นาชุมชน ผู้นาศาสนา ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี ซึ่งมีการดาเนินกิจกรรมประชุมเชิง ปฏิบัติการร่วมคิด ร่วมร่างธรรมนูญศีลธรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และจัดการป่าชุมชน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ พัฒนาร่วมกันของประชาชนในชุมชน มีเนื้อหาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการป่า ในชุมชน ทั้งการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ดาเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์ และการประเมินผลร่วมกัน ๔. การประเมิน (ร่าง) ธรรมนูญศีลธรรมชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน ของชุมชน ดาเนินการโดยการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยประชาชนมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการประจาหมู่บ้านเห็นชอบให้มีการบังคับใช้ธรรมนูญศีลธรรมฉบับดังกล่าว | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รูปแบบการมีส่วนร่วม | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์ | en_US |
dc.subject | การจัดการป่าชุมชน | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน | en_US |
dc.title.alternative | Development format Participation of citizens in Conservation and management of community forests | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-130ดร.ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.