Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/874
Title: ศึกษาภูมิปัญญาด้านการผสมผสานความเชื่อและการประกอบพิธีกรรม ของชุมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: A Study of the wisdom blend beliefs and rituals of the four tribes in Si Sa Ket Province
Authors: ประทุมแก้ว, สุทัศน์
ฐิตโสภโณ, ธงชัย
กนฺตธมฺโม, กัญจน์
Keywords: ภูมิปัญญา
พิธีกรรม
ชุมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาและการผสมผสานความ เชื่อในการประกอบพิธีกรรมของชุมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อศึกษาการผสมผสานความเชื่อ ของชุมชนและหลักพระพุทธศาสนาในการประกอบพิธีกรรมของชุมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ 3. เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาและการผสมผสานความเชื่อในการจัดการตนเองของชุมชนสี่เผ่าในจังหวัด ศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษา จากคัมภีร์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งงานวิจัยที่มีผู้รู้ได้ศึกษาไว้ รวมถึงการเก็บข้อมูลเชิงปฏิบัติการ เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการจัดเวทีวิชาการของกลุ่มชุมชนต่างๆ และภาค ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าเป็นการเก็บข้อมูลเชิงภาคสนาม โดยมีรายละเอียดดังนี้ ผลจากการวิจัยพบว่า ประเพณีทางพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานแห่งวัฒนธรรมไทย เพราะคนไทยนับถือ พระพุทธศาสนามาช้านาน พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนไทยรอบด้าน ทั้งในด้านคติธรรม เนติธรรม สหธรรม และวัตถุธรรม ที่ถ่ายทอดออกมาในรูปเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ (1) ทาให้ มีชีวิตอยู่ในกรอบของขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม (2) ทาให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน (3) เป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาไทย (4) สร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ (5) เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และ (6) มีส่วนในการสนับสนุนให้ชาติบ้านเมืองเจริญ พื้นฐาน ทางอุดมการณ์ของชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ จึงเกิดจากการผสมผสานของระบบความเชื่อเกี่ยวกับ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ และการนับถือผี ซึ่งแสดงออกในการดาเนินชีวิต พิธีกรรม และจารีต ของชุมชน การผสมผสานความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมของชุมชนสี่เผ่า จึงเป็นพิธีกรรมที่เกิดจาก การผสมผสานความเชื่อของชาวบ้าน เป็นอุบายในการขัดเกลาให้สมาชิกในสังคมดารงอยู่ภายใต้ กฎระเบียบที่ดีงามทางสังคม โดยนาหลักความเชื่อพุทธ และความเชื่อพราหมณ์มาผนวกเข้ากับความ เชื่อผีที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้เป็นแบบแผนของกิจกรรมทางสังคมที่มนุษย์ทาขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจาก ความเชื่อทางด้านศาสนา จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม ซึ่งทาให้เกิดการอยู่ร่วมกันได้ ประเพณียัง สอนให้คนรู้จักเคารพระบบอาวุโส โดยแสดงออกในรูปของการประกอบพิธีกรรม การผสมผสานทาง ความเชื่อของกลุ่มชนสี่เผ่า จึงมีการพัฒนาการมาเป็นรูปแบบงานประเพณีที่เป็นการรวมกลุ่มสี่เผ่าเพื่อ มาประกอบพิธีกรรมร่วมกัน แสดงออกถึงความสามัคคี และการเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน โดยผ่าน พิธีกรรมที่สื่อถึงภูมิปัญญาและความเชื่อของชุมช
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/874
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-050 ดร.สุทัศน์ ประทุมแก้ว.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.