Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/873
Title: วิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่ : องค์ความรู้ และการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Titles: Phrae Provincial’s Community Enterprises: Knowledge and Network’s Management for Sustainable Development
Authors: พระครูสังฆรักษ์, บุญเสริม
วูวงศ์, อรอนงค์
เจริญกุศล, ธาดา
ดาจุติ, กาญจนา
Keywords: วิสาหกิจชุมชน
การจัดการเชิงเครือข่าย
การพัฒนาที่ยั่งยืน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัจจุบันและปัญหาการ ดาเนินงานวิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ความรู้และการ จัดการเชิงเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ ระบบความสัมพันธ์และผลสาเร็จของการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจ ชุมชน และ ๔) เพื่อเสนอองค์ความรู้ และระบบการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนาเฉพาะกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จานวน ๔๖๔ ได้จากการคานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ โดยวิธีสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปเพื่อ การวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑. บริบท สภาพปัจจุบันของ วิสาหกิจไม้แปรรูปจังหวัดแพร่เป็นเมืองไม้ สัก ดาเนินอย่างเป็นรูปแบบมาอย่างยาวนาน มีการปรับกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมไม้สักตามสภาพและ สถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จวบจนถึงปัจจุบัน ได้ขับเคลื่อนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้สักสู่ตลาดได้ อย่างเป็นระบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้สักเพิ่มมูลค่ารวมถึงการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และ ผู้ผลิตในชุมชน ทั้งขนาดกลางและ ขนาดเล็ก วิสาหกิจหม้อห้อมเป็นเศรษฐกิจในครัวเรือน ทาเป็น อาชีพหลักและอาชีพเสริมมีลักษณะที่เป็นการค้าขายทั้งค้าปลีกและค้าส่ง วิสาหกิจผ้าทอเมืองแพร่มี การถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นคือการทอผ้า ซึ่งมีมานานเป็นการทอผ้าฝ้าย ทอด้วยกี่พื้นบ้าน ส่วนใหญ่ ทอเป็นผ้าซิ่นที่ใช้ในชีวิตประจาวัน และผ้าซิ่นที่ต่อตีนจก วิสาหกิจเครื่องจักสานใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ มีความรู้สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน โดยใช้วัสดุจากไม้ไผ่ มีการพัฒนารูปแบบ และมีการ รวมกลุ่มกันคิดประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จึงรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ ส่วนปัญหาการดาเนินงาน วิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่ พบว่าปัญหาการดาเนินงานวิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่ ส่วนมากเป็นปัญหา การผลิต การตลาด การออกแบบ การจาหน่าย การไม่มีศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสาร การด้านวัสดุ ไม่พอเพียง ๒. ความคิดเห็นของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่เกี่ยวกับองค์ความรู้และการจัดการ เชิงเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ ความรู้และการจัดการเชิงเครือข่ายวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป,ผ้าทอเมืองแพร่ และเครื่องจักสาน จังหวัดแพร่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนองค์ความรู้และการจัดการเชิง เครือข่ายวิสาหกิจหม้อห้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ๓. ผลของการศึกษาระบบความสัมพันธ์และความสาเร็จของการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีต่อ วิสาหกิจผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป, ผ้าทอ, หม้อห้อม และเครื่องจักสานจังหวัดแพร่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ยังไม่มีระบบการจัดการเครือข่ายที่ชัดเจน ยังเป็นลักษณะที่เป็นแบบต่างคนต่างดาเนินการผลิต ความสัมพันธ์ยังไม่เน้นแฟ้น แต่สามารถดาเนินวิสาหกิจชุมชนได้ค่อนข้างดี ๔. ผลของการศึกษาองค์ความรู้ และระบบการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีผลต่อการพัฒนาที่ ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดแพร่ พบว่า เป็นการจัดการเชิงเครือข่ายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ เศรษฐกิจพอเพียง นาเอาวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นาเอาวัสดุที่มีอยู่ และบุคลากรที่ อาศัยในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดาเนินการในการวางแผนธุรกิจ เน้นความเอื้ออาทร ซึ่งกันในการ จัดการให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี หากจะทาให้การจัดการเชิงเครือข่ายเข้มแข็งสมาชิกควรเป็น ผู้ดาเนินการประสานหาแนวร่วม มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีจิตสานึก อีกทั้งควรให้ภาครัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยน มีการสื่อสารภายในองค์กรอย่างทั่วถึง ในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดพัฒนาอย่างยั่งยืน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/873
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.