Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/871
Title: การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสัมมาชีพ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: THE INTEGRATION OF BUDDHADHAM PRINCIPLE AND LOCAL WIDDOM IN PROMOTING THE LIVELIHOOD OF COMMUNITY GROUPS IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
Authors: ประกิ่ง, พระครูใบฎีกาหัสดี
รัตนยงค์, ประสพฤกษ์
ยังทะเล, มนัสพล
Keywords: การบูรณาการ
หลักพุทธธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การส่งเสริมสัมมาชีพ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเรื่องการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการ ส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติในการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา (๒) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและหลักปฏิบัติในการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา มี ๕ แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน แนวคิดสัมมาชีพตามหลักพระพุทธศาสนา แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวคิดการจัดการทรัพยากรชุมชนแนวคิดการบูรณาการหลักพุทธธรรม ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจส่วนใหญ่ใช้แนวคิดทั้งหมดตามลำดับ เนื่องจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีความเกี่ยวข้องกับระเบียบข้อบังคับและแนวทางการดำเนินการ การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา มี ๔ หลักธรรม ได้แก่ ๑) หลักศีล ตั้งมั่นในการรักษาศีล ๕ ๒) หลักทาน เป็นการให้ความรัก เอ็นดูและเมตตาต่อกัน อาศัยการแบ่งปันตอบแทนน้ำใจที่ดีต่อกัน ๓) หลักอปริหานิยธรรม ๗ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการประชุมปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยสม่ำเสมอ นายจ้างรับฟังความคิดเห็นของลูกจ้างเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงตัวเองและกิจการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่ใช้ อำนาจข่มเหงกัน ทำให้ลดปัญหาความขัดแย้งและการแข่งขันระหว่างกันลงได้ ๔) หลักฆราวาสธรรม ข ๔ ถือเป็นหลักครองชีวิตเป็นสำคัญ โดยเน้นการเป็นผู้มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐานและรักษาสัจจะนั้น มีการฝึกฝน ฝึกนิสัย รู้จักควบคุมจิตใจโดยมีการปรับปรุงตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วยการใช้สติละปัญญา มีขันติธรรมความอดทน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ความเสียสละพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคสิ่งของให้ผู้อื่นและหมั่นเข้าวัดฟังธรรม ไหว้พระสวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา สรุปหลักการพัฒนาดังนี้ (๑) หลักศีลส่งเสริมในด้านการพัฒนาจิตใจให้มีความตั้งมั่นในศีลธรรมอันดี รู้จักนำหลักศีลธรรมมาปฏิบัติประจำใจ (๒) หลักทานส่งเสริมให้รู้จักเสียสละ แบ่งปันและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน (๓) หลักอปริหานิยธรรม ๗ ส่งเสริมให้บุคคลอยู่ร่วมกันโดยการหมั่นประชุม หาทางออกของปัญหาและแนวทางการแก้ไข ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนครราชสีมา มีการประชุมปรึกษาหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน (๔) หลักฆราวาสธรรม ๔ ส่งเสริมให้บุคคลมีความซื่อสัตย์ มีความข่มใจ มีความอดทน มีความเข้าใจในการบริจาคช่วยเหลือ หลักพุทธธรรมยังเสริมสร้างความสุขให้เกิดแก่ชุมชนวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ยอมรับในด้านความมีคุณธรรม จริยธรรมชื่อเสียงในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการเป็นอย่างดีทั้งในและต่างประเทศ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/871
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-170 พระครูใบฎีกาหัสดี ประกิ่ง.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.