Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/870
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา เขตเศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดน่าน
Other Titles: People participation on Border economic Development Plan of Nan province
Authors: โรจน์กิจจากุล, ธีรทัศน์
พระครูสังฆรักษ์, คณิต
พระครูปลัด, วัชรพงษ์
Keywords: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดทาแผนพัฒนาเขต เศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดน่าน ๒.เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ ชายแดนของจังหวัดน่าน และ ๓.เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ ชายแดนของจังหวัดน่าน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน ๑๘ คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖๒ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรที่มีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนราษฏ์ของจังหวัดน่าน มีจานวน ๔๗๙,๕๑๘ คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามตารางการกาหนด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งได้จานวนกลุ่มตัวอย่างจานวน ๔๐๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัญหาอุปสรรคในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดน่านนั้น ในภาพรวม ภาคประชาชนและภาคเอกชนยังไม่ค่อยมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ ชายแดนภาคเหนือ ของจังหวัดน่าน ไม่ว่าจะเป็น ๑) ด้านการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ซึ่งมาจากการที่ ประชาชนไม่ทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ๒) ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น เนื่องจากภาครัฐยังขาดการกระตุ้นให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ๓) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดทา แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดน่าน ซึ่งรัฐบาลยังขาดนโยบายในการส่งเสริมให้ประชาชน และหน่วยงานอื่นๆ ได้เข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับจัดทาแผน ภาครัฐขาดการสื่อสารให้ประชาชนทราบปัญหา และ ๔) ด้านการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจของจังหวัดน่าน ซึ่งประชาชนยังขาด การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบตั้งแต้ต้นจนจบอย่างเปิดเผยจนครบทุกภาคส่วน และยังไม่มีคณะทางานระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ที่มีสัดส่วนของภาคประชาสังคม ๒. การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดน่านนั้น ปรากฏว่า การมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือ ของจังหวัดน่านนั้น ด้านที่มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมให้ข้อมูล อยู่ในระดับ การมีส่วนร่วมน้อย ค่าเฉลี่ย (  ) อยู่ที่ ๒.๓๒ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อยู่ที่ ๐.๙๐ รองลงมา คือ ด้านการมี ส่วนร่วมวิเคราะห์แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือ อยู่ในระดับการมีส่วนร่วมน้อย ค่าเฉลี่ย (  ) อยู่ที่ ๒.๑๔ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อยู่ที่ ๐.๙๕ ส่วนด้านที่มีระดับการมีส่วนร่วม น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนืออยู่ในระดับ การมี ส่วนร่วมน้อย ค่าเฉลี่ย (  ) อยู่ที่ ๒.๐๐ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อยู่ที่ ๑.๐๒ ๓. แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือ ของจังหวัด น่าน ในแต่ละด้านทั้งผู้ตอบแบบสอบถามและผู้ให้ข้อมูลสาคัญหลัก ได้เสนอแนวทางไว้ในแต่ละด้าน ดังนี้ ๑) แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคเหนือของจังหวัดน่าน ด้านการให้ ข้อมูล ได้เสนอให้ ภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชน และหน่วยงานทุกภาคส่วนได้มีโอกาสแสดงความเห็น ในการให้ข้อมูลที่หลากหลายช่องทาง มากยิ่งขึ้น ๒) ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ได้เสนอให้ รัฐบาลหรือหน่วยงานราชการต้องพยายามสร้างเครือข่ายการดาเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาแผนเศรษฐกิจ เพื่อนาไปสู่การมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ ชายแดนภาคเหนือ ของจังหวัดน่าน ๓) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน ภาคเหนือของจังหวัดน่าน ได้เสนอให้ ผู้จัดทาแผนควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปรับรู้ในทุกๆ ขั้นตอน นอกจากนั้นควรมีการติดตามประเมินผลของแผนฯ เพื่อนาไปประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายทราบ โดยสร้าง แรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ๔) ด้านการมีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนภาคเหนือของจังหวัดน่าน ได้เสนอให้ ภาครัฐควร ส่งเสริมงบประมาณในการสัมมนาเกี่ยวกับแผน การจัดทาแผน วิเคราะห์แผน การติดตามผลการดาเนินงาน ตามแผนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง รวมทั้งทาประชาพิจารณ์หรือสร้างกิจกรรมให้คนในชุมชนหรือท้องถิ่นใน จังหวัดได้เข้ามามีส่วนร่วม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/870
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-013 ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.