Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/869
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสิริปญฺโญ, พระมหาไสว-
dc.contributor.authorกตปุณฺโญ, พระครูสมุห์เฉวียน-
dc.contributor.authorอุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์-
dc.date.accessioned2022-03-31T06:50:12Z-
dc.date.available2022-03-31T06:50:12Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/869-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การศึกษาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้กรณีศึกษาจังหวัดมหาสารคาม มีจุดประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในต่างประเทศ ๒) เพื่อศึกษาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย ๓) เพื่อเสนอรูปแบบเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายดังนี้ กลุ่มเป้ามายในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) ในการสัมภาษณ์โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำแนกผู้ให้ข้อมูลได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ๕ คน กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ ๕ คน กลุ่มบุคลากรทางเศรษฐกิจภาคเอกชน ๕ คน กลุ่มบุคลากรทางดานวัฒนธรรมและวัด ๕ คน กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา ๕ คน ผลการวิจัยพบว่า ประชนชาวมหาสารคามเป็นคนที่มีความดีงามและเพียบพร้อมด้วยภูมิความรู้มากมาย ตามวิวัฒนาการของบ้านเมือง และพัฒนาการของผู้คนและสังคมก้าวหน้า สู่วิถีชีวิตที่เรียบง่าย รักสันติ เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคอีสานไม่มีภูเขา มีแม่น้ำชีไหลผ่าน ซึ่งเป็นเมืองสงบจึงเหมาะกับการเป็นที่ตั้งสถานศึกษาต่างๆ ทุกระดับ จึงเป็นที่มาของคำว่า เมืองแห่งการศึกษา หรือ ตักสิลานครจุดเด่นความเป็นตักสิลานครคือ จังหวัดมหาสารคามมีสถาบันการศึกษาระดับสูงสุดหลายแห่ง สามารถผลิตทรัพยากรแรงงานระดับคุณภาพที่จะตอบสนองความต้องการทางเทคโนโลยีและธุรกิจได้ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาประเทศ จึงเป็นจุดเด่นของจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดจึงได้ส่งโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชนภายใต้แนวคิด ๓ ส่วน ได้แก่ ๑. ทุนความรู้คือ ภูมิปัญญา เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรซึ่งมีหลักสูตรการเรียนการสอนมากกว่า ๑,๐๐๐ หลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ศึกษาวิจัย ๒. ทุนทรัพยากรมนุษย์หมายถึง คนซึ่งจังหวัดมหาสารคามมีผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาปราชญ์ชาวบ้านมากว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนที่จะขับเคลื่อนเรียนรู้และพัฒนาชุมชน ๓. ชุมชนซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมอาชีพเสริมเป็นการผลิตสินค้าหัตถกรรมต่างๆ ชุมชนวัฒนธรรม และชุมชนประวัติศาสตร์ ซึ่งทั้งสามส่วนได้หล่อหลอมองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการให้เป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดมหาสารคาม โดยได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๑๐ เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์en_US
dc.subjectการพัฒนาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้en_US
dc.titleศึกษาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาจังหวัดมหาสารคามen_US
dc.title.alternativeA study model city of the creative economy to development the learning communities: Case study Mahasarakham province.en_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-096 พระมหาไสว สิริปญฺโญ.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.