Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/868
Title: | บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระสิริมังคลาจารย์ |
Other Titles: | The Role and connection Region of PhraSirimunghalaJara |
Authors: | กิตฺติวณฺโณ, อนุสรณ์ ชยสิทฺธิ, สิทธิชัย ศรีคำภา, รวีโรจน์ กาวีวล, นิติพงษ์ |
Keywords: | บทบาท การเชื่อมโยง พระสิริมังคลาจารย์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระสิริมังคลาจารย์” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิถีอัตลักษณ์ของพระสิริมังคลาจารย์ ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการเชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมของพระสิริมังคลาจารย์ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลความสัมพันธ์และผลงานที่มีต่อการศึกษา การเผยแผ่ การสร้างเครือข่ายและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของ พระสิริมังคลาจารย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทาการศึกษาจากเอกสาร ตารา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกพระสงฆ์ ประชาชนในจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงใหม่ จานวน ๑๐ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า พระสิริมังคลาจารย์มีนามเดิมว่า ศรีปิงเมือง ถือกาเนิดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๓ ปี ภายหลังจากที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วนั้น ได้เดินทางไปเรียนหนังสือในสานักของพระพุทธวีระ ภายหลังจากที่ศึกษาจากสานักของพระพุทธวีระแล้วได้เดินทางกลับมายังเชียงใหม่ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระสิริมังคลาจารย์ ตามฉายาของท่าน และได้รับการแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอดและวัดสวนดอก พระสิริมังคลาจารย์ได้มรณภาพ ในระหว่าง (พ.ศ.๒๐๖๘ – ๒๐๗๘) ตรงกับรัชสมัยพระเมืองเกศเกล้า ท่านได้รจนาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ๔ คัมภีร์ คือ เวสสันตรทีปนี จักกวาฬทีปนี สังขยาปกสกฎีกา และมังคลัตถทีปนี โดยมีแนวคิดที่สาคัญในการรจนาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาคือ ๑) แนวคิดเรื่องความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒) แนวคิดจากนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาร่วมยุค และ ๓) แนวคิดในสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยมีวิถีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือ ๑) วิถีอัตลักษณ์ด้านการแต่งวรรณกรรม ๒)วิถีอัตลักษณ์ด้านความสันโดษ และ ๓) วิถีอัตลักษณ์ด้านการใฝ่รู้ใฝ่เรียน จากแนวคิดและวิถีอัตลักษณ์ดังกล่าวนี้ ทาให้พระสิริมังคลาจารย์ได้รับการยอมรับว่าเป็นจอมปราชญ์แห่งล้านนาและมีผลงานที่มีคุณูปการต่อพระศาสนาจนถึงปัจจุบัน ผลงานวรรณกรรมของพระสิริมังคลาจารย์ถือว่ามีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการช่วยกันสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์เวสสันตรทีปนี จักกวาฬทีปนี สังขยาปกสกฎีกา และมังคลัตถทีปนี ถือเป็นงานวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งผลงานเหล่านี้เป็นเสมือนตัวกลางการเชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมการศึกษาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ขจรไกล ดังจะเห็นได้จากผลงานของท่านที่มีการสืบทอดอย่างไม่ขาดสายถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลาห้าร้อยกว่าปี แต่ก็ยังมีการปริวรรตจากภาษาบาลีเป็นภาษาล้านนา และปริวรรตเป็นภาษาไทยกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงวัฒนธรรมการศึกษาและการเผยแผ่ผลงานของพระสิริมังคลาจารย์ วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่พระสิริมังคลาจารย์ได้รจนาขึ้นนี้ ถือเป็นวรรณกรรมที่มีอิทธิพลความสัมพันธ์ที่มีต่อการศึกษา การเผยแผ่ การสร้างเครือข่ายและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลความสัมพันธ์ที่มีต่อการศึกษานั้น ปัจจุบันผลงานของท่าน คือ มังคลัตถทีปนี ได้ถูกนาเอามาเป็นหลักสูตรในการศึกษาแผนกธรรม บาลี ในระดับ เปรียญธรรม ๔,๕,๗ ประโยค และผลงานทั้งหมดก็ถูกนาไปแปลเป็นภาษาต่างๆ จนทาให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้อิทธิพลความสัมพันธ์ที่มีต่อการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนานั้น ในปัจจุบันผลงานของท่านโดยเฉพาะเวสสันตรทีปนี มังคลัตถทีปนี ถือเป็นวรรณกรรมที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่า หากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ ด้วยบุญผลานิสงส์ จะไปเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรยในอนาคต ที่มีแต่ความสงบสุข นอกจากนี้ ในมังคลัตถทีปนีได้เสนอแนวทางในการดารงตนเป็นคนดีตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งหากทุกคนดารงตนอยู่ในมงคล ๓๘ ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะฉะนั้นผลงานวรรณกรรมทั้งหมดของพระสิริมังคลาจารย์นี้นอกเหนือจากเป็นการสืบทอดและเผยแผ่พระศาสนาแล้วนั้น ยังเป็นเหมือนแนวทางในการดาเนินชีวิตเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงคือความสงบสุขทั้งกายและใจนั่นเอง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/868 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-026 พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.