Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/867
Title: กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา
Other Titles: The Process of Community Strengthening and Cultural Tourism Promotion in Phayao Province
Authors: สารบรรณ, สุเทพ
วิสุทฺธิาณเมธี, พงษ์ประภากรณ์
อินปิง, นพดล
คำแก้ว, สิริกานดา
Keywords: กระบวนการ
ศักยภาพ
การท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม
จังหวัดพะเยา
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ๒) เพื่อพัฒนาเครือข่ายกระบวนการ เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและเครือข่ายของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา วิธีการดาเนินการวิจัยเป็นวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแบบสอบถามประกอบ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร รายงานการวิจัยที่ เกี่ยวข้อง และมีการสัมภาษณ์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน ชุมชน นักท่องเที่ยว ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พระมหาเถระ และปราชญ์ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ วัดศรีโคมคา (วัดพระเจ้าตนหลวง) วัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) และวัดพระเจ้านั่งดิน จานวน ๒๐,๒๙๒ รูป/คน ใช้ตารางกาหนดกลุ่มตัวอย่างของ Krejicie and Mogan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ๓๗๙ รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จานวน ๒๑๘ คน คิดเป็น ร้อยละ ๕๗.๕ มีอายุระหว่าง ๓๑-๔๐ ปี จานวน ๑๔๐คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๙ สถานภาพ ส่วนใหญ่ โสด จานวน ๑๙๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๗ มีการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส./ปวท. จานวน ๑๖๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๗ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว จานวน ๑๐๐ คน คิดเป็น ร้อยละ ๒๖.๔ มีรายได้ ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ บาท จานวน ๒๑๖ คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๐ และส่วนใหญ่มี ถิ่นที่อยู่อาศัยในภาคเหนือ จานวน ๒๙๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๐ กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา โดยรวม (วัดศรีโคมคา (วัดพระเจ้าตนหลวง) วัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) และ วัดพระเจ้านั่งดิน) อยู่ในระดับปานกลาง ( X =๓.๑๐) วัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ ศักยภาพของชุมชนต่อ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ๑) ด้านการจัดการการท่องเที่ยวของวัดอยู่ใน ระดับปานกลาง ( X =๓.๒๓) พบว่า มีความพร้อมในระบบการให้บริการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ห้องสุขา ศาลา ที่นั่งพัก ถังขยะ ป้ายบอกเส้นทาง ฯลฯ ๒) ด้านรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง ( X =๓.๒๙) พบว่า ชุมชนโดยรอบมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา และ ทางวัดมีการจัดกิจกรรมทางศาสนา และรณรงค์ ส่งเสริม สร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ท้องถิ่น ๓) ด้านผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อยู่ในระดับปานกลาง ( X =๒.๗๘) พบว่า ควรให้เด็ก เยาวชน เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมกรท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์อาสาแนะนาแหล่ง ท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ การพัฒนาเครือข่ายกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ต่อ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ควรเริ่มจากคนในชุมชนต้องมีความช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องออกนโยบาย และจัดทาโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ยั่งยืน และวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ วิเคราะห์ศักยภาพและเครือข่ายของชุมชน ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ทั้ง ๓ วัด ส่วนใหญ่มีศักยภาพสิ่งอานวย ความสะดวกที่ค่อนข้างพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละวัดมีสิ่งที่ควรพัฒนาแตกต่างกันเป็น อันดับต้น ๆ เช่น วัดศรีโคมคา (วัดพระเจ้าตนหลวง) ไม่มีแผ่นพับ/เอกสารแนะนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว วัดพระเจ้านั่งดินมีเส้นทางการเดินทางไปยังแหล่ง ท่องเที่ยวบางแห่งมีถนนชารุด เสื่อมสภาพ และติดกับแหล่งชุมชนที่พลุกพล่าน ทาให้การเดินทางไม่ สะดวก และวัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) มีการก่อสร้างที่ใหม่ ๆ ซึ่งบดบังสถานที่สาคัญ ของวัด และสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นป่าชื้น ซึ่งมียุงหรือแมลงต่าง ๆ อาจจะไม่ปลอดภัยและสร้าง ความราคาญแก่นักท่องเที่ยว
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/867
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-073 สุเทพ สารบรรณ.pdf11.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.