Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/863
Title: การศึกษารูปแบบการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการวิปัสสนากัมมัฏฐาน
Other Titles: A Study of the Patterns of the Temple Development to The Vipassana Meditation Center
Authors: พระครูภาวนาวิริยานุโยค
พระครูปริยัติปัญญาธร
Keywords: รูปแบบการพัฒนาวัดศูนย์กลางการวิปัสสนากัมมัฏฐาน
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นธุระอันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญอันสูงสุดในการปฏิบัติธรรมตามหลักการทางพระพุทธศาสนา การศึกษารูปแบบการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น ๒ ประการด้วยกัน ประการแรก ได้แก่ เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดฉะเชิงเทรา และประการที่สอง ได้แก่ เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นปัจจัยในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่ค่อยแพร่หลายมากนักตามวัดทั่วไป แต่ปรากฏว่าการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดและสำนักปฏิบัติของเอกชนผู้มีความศรัทธาในการปฏิบัติกัมมัฏฐานตามแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น รูปแบบของการปฏิบัติกัมมัฏฐานจึงไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ จากการศึกษาวัดตัวอย่าง อันได้แก่ วัดสุวรรณมาตร วัดบ้านซ่อง และวัดปากน้ำบางคล้า ทั้งสามวัดตัวอย่างมีความต้องการในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความต้องการได้แก่ ประการแรก ความต้องการพัฒนารูปแบบของการปฏิบัติธรรมภายในวัด ประการที่สอง ความต้องการพัฒนาศักยภาพของพระภายในวัดให้เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ประการที่สาม ความต้องการของผู้มาปฏิบัติธรรมโดยทั่วไปของวัด ประการที่สี่ ความต้องการของชุมชนรอบข้างวัดหรือความต้องการของหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับวัด ประการที่ห้า ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ดังนั้น จากการศึกษาวิเคราะห์ได้ว่า วัดและชุมชนรอบข้างมีความต้องการพัฒนาศักยภาพของวัดให้กลายเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และชุมชนยังมีส่วนเอื้อให้เกิดสัปปายะในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วย ได้แก่ การเอื้อเฟื้อต่ออาหาร การพัฒนาสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน การมีส่วนร่วมในการจัดอบรมและจัดหลักสูตรการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เอื้อต่อชุมชนและโยคีผู้มาปฏิบัติธรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/863
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.