Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/862
Title: วิสาหกิจผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปจังหวัดแพร่: องค์ความรู้ และการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Titles: Phrae Provincial’s Transmute Wood Product: Community Enterprises: Knowledge and Net work’s Management for Sustainable Development
Authors: หมายดี, ดำเนิน
อินนันใจ, สายัณห์
สุวรรณสวัสดิ์, ศาณิวัชร์
อะทะเสน, พงศ์พิชิต
Keywords: วิสาหกิจ
ไม้แปรรูป
องค์ความรู้
การจัดการเชิงเครือข่าย
จังหวัดแพร่
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบริบทสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินงาน วิสาหกิจผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ๒) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และการจัดการเชิงเครือข่ายวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ ไม้แปรรูปอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓) เพื่อวิเคราะห์ระบบความสัมพันธ์และผลสำเร็จ ของการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีต่อวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๔) เพื่อเสนอ องค์ความรู้และระบบการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ไม้ แปรรูปจังหวัดแพร่ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) คือ การวิจัยคุณภาพและวิจัยเชิง ปริมาณ โดยการสัมภาษณ์และแจกแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแพร่ ตามที่ได้สำรวจข้อมูลด้านพื้นที่พบว่า จังหวัดแพร่ มีประชาชนที่ประกอบกิจการผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ อำเภอสูงเม่น และประชาชน ในชุมชนส่วนใหญ่ได้ประกอบกิจการแปรรูปไม้และทำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้แปรรูป เช่น การทำ กระปุกออมสิน การทำโต๊ะ เก้าอี้ฮ่องเต้ บานประตู บานหน้าต่าง เป็นต้น ระดับการจัดการเชิง เครือข่ายวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปจังหวัดแพร่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยภาพรวม พบว่า ประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ๑) การ รับรู้มุมมองร่วมกัน (Common Perception) วิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทางด้าน การตลาดในการส่งสินค้าออกจำหน่าย ๒) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common Vision) วิสาหกิจ ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในการคิดกำหนดช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ๓) การ เกิดผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน (Mutual Interests/Benefits) วิสาหกิจชุมชนมีความมั่นใจ ในการเข้าร่วมเครือข่ายผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ๔) การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง (All Stakeholders Participation) วิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการทำงานของเครือข่ายวิสาหกิจ ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ๕) การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน (Complementary Relationship) วิสาหกิจ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ๖) การพึ่งพิงอิง ร่วมกัน (Interdependence) วิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการเครือข่าย ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ๗) การปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน (Interaction) วิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการ พัฒนาความรู้ร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป วิสาหกิจชุมชนเป็นการร่วมมือระหว่างผู้ประกอบกิจการและองค์กรของรัฐ คือ สำนักงาน เกษตรจังหวัดที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแก่บุคคลที่มีความต้องการจะประกอบ กิจการแบบวิสาหกิจชุมชน และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดมีหน้าที่ในการจดทะเบียนโรงงาน อุตสาหกรรมครัวเรือนการทำงานแบบภาคีเครือข่ายต้องสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานอุสาหกรรม ครัวเรือนให้กับประชาชนที่มีความต้องการ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนในการทำ ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป และสร้างเครือข่ายประสานงานด้านการตลาดการส่งออกสินค้าให้มากขึ้น และ สนับสนุนงบประมาณในการผลิตแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการได้ตั้งตัวและพึ่งตัวเอง ได้ และคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมแก่การนำมาใช้ จัดอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตสินค้าในรูปแบบ ใหม่ๆ กำหนดบทบาทและข้อตกลงร่วมกันกับภาคีอื่นๆ ในการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่าง ยั่งยืน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/862
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-021 ดำเนิน หมายดี.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.