Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/858
Title: ความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร
Other Titles: Moral Responsibility of the Community Enterprise in Phichit Province
Authors: พระครูอุทัยกิจจารักษ์
พระครูวศินวรกิจ
พระครูพิจิตรวรเวท, มนัส
พันธา, ประทิน
ไชยชนะ, วิชิต
Keywords: การเสริมสร้างศักยภาพ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง ความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร มี วัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาศักยภาพและความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน จังหวัดพิจิตร ๒) วิเคราะห์ปัญหาความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร และ ๓) เสริมสร้างศักยภาพและความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตรทั้งที่เป็นนิติ บุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ ที่จดทะเบียนไว้กับสานักงาน เกษตรจานวน 12 อาเภอในจังหวัดพิจิตร ปัจจุบัน มีวิสาหกิจชุมชน 372 แห่ง เครือข่ายวิสาหกิจ ชุมชน 1 แห่งจานวนสมาชิก 6,367 คนกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีการดาเนินการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคล โดยใช้ แบบสอบถาม (Questionnaires) สอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน เพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตรกลุ่มตัวอย่างมีจานวน ๓๗๗ คน ตอนที่ 2 การสัมภาษณ์ เชิงลึก (Indepth Interview) เป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (structured Interview ) ผู้ให้ข้อมูล สาคัญ ผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้นา กรรมการ สมาชิกผู้ประกอบการกลุ่มผลิตชุมชน วิสาหกิจชุมชน ในอาเภอที่ได้รางวัลกลุ่มวิสาหกิจดีเด่น ระดับ จังหวัดระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ และอีก ๑ กลุ่ม เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กลุ่ม วิสาหกิจ ละ ๔-๘ รูป/คน ตอนที่ 3 การสนทนากลุ่มย่อยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus groups) ผู้เชี่ยวชาญที่ เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้นาจากภาครัฐ จานวน ๑๑ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑).การศึกษาศักยภาพและความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตรการประเมินศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร ส่วนที่ 1 การ ประเมินกระบวนการดาเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 2.72, S.D.= ๐.53) โดยมีด้าน กระบวนการจัดการสินค้าและบริการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (  = 2.88, S.D.= ๐.32) ด้านทิศทางวิสาหกิจ ชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด (  = 2.40, S.D.= ๐.64) ด้านการจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร ( = 2.84, S.D.= ๐.37) ด้านการบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชน (  = 2.73, S.D.= ๐.47) ด้านการ ข วางแผนงานของวิสาหกิจชุมชน(  = 2.73, S.D.= ๐.45) และด้านการบริหารตลาด (  = 2.72, S.D.= ๐.60) ตามลาดับ การประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร ส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การ ดาเนินงานวิสาหกิจชุมชน ผลการประเมินผลลัพธ์การดาเนินงานวิสาหกิจชุมชนโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับดี (  = 2.81, S.D.= ๐.40) ด้านประสิทธิผลตามภารกิจของวิสาหกิจชุมชนค่าเฉลี่ยโดยรวม (  = 2.98, S.D.= ๐.14) โดยการลดรายจ่ายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.00, S.D.= ๐.05) การเพิ่ม รายได้มีค่าเฉลี่ยต่าสุด (  = 2.97, S.D.= ๐.18) ๒) การวิเคราะห์ปัญหาความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร การวิเคราะห์ปัญหาความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านความรับผิดชอบด้าน คุณภาพและบริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (  = 2.63, S.D.= ๐.60) โดยมีกาหนดและปฏิบัติ ตามขั้นตอนครบทุกงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (  = 2.84, S.D.= ๐.45) สินค้าส่วนใหญ่ได้รับการรับรอง มาตรฐานมีค่าเฉลี่ยต่าสุด (  = 2.28, S.D.= ๐.66) นาเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ( = 2.71, S.D.= ๐.46) สินค้าได้รับการยอมรับจากลูกค้า (  = 2.69, S.D.= ๐.65) และสินค้าได้รับ การยอมรับจากลูกค้า (  = 2.69, S.D.= ๐.65) ตามลาดับ ๓) การเสริมสร้างศักยภาพและความรับผิดชอบเชิงจริยธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน จังหวัดพิจิตร มีแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตรดังนี้ 1. พัฒนา ภาวะผู้นาและการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยการทางานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกขั้นตอน 2. พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีเพื่อความยั่งยืน มีวางแผนอย่างมีขั้นตอน จัดองค์กรอย่างเป็นระบบ ครบรอบปีมีรายงานการรับจ่ายที่โปร่งใส ควบคุมการเงิน การผลิต การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน 3. พัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน คัดเลือกวัตถุดิบทีมีคุณภาพ ผลิตตาม ความต้องการของลูกค้า พัฒนาโครงสร้างการจัดการกลุ่ม ควบคุมการจัดการทางการเงิน กระบวนการ จัดการตรวจสอบได้ ออกแบบผลิตภัณฑ์และหีบห่อที่ทันสมัย มีแนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบ เชิงจริยธรรมของกลุ่มวิสาหกิจในจังหวัดพิจิตรดังนี้ 1. ด้านสุขภาพและสวัสดิภาพของบุคคล จัด สวัสดิการแก่สมาชิกอย่างเหมาะสม จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน สมาชิกมีส่วนร่วมในการกาหนด เป้าหมาย งดเว้นการใช้สารเคมีในการผลิต/บริการ 2. ด้านคุณภาพและบริการ กาหนดและปฏิบัติ ตามขั้นตอนครบทุกงาน สินค้าได้รับการยอมรับจากลูกค้า สินค้าส่วนใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐาน นาเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด 3. ด้านข้อมูลข่าวสารและการศึกษา บูรณาการเทคโนโลยี สมัยใหม่กับภูมิปัญญา ข้อมูลเป็นระบบพร้อมใช้งาน เผยแพร่ข่าวสารทั้งภายในภายนอกให้ทั่วถึง 4. ด้านสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ 5. ด้าน ศาสนาและวัฒนธรรม คานึงถึงวัฒนาธรรม วิถีชีวิต และศาสนา ปรับความเข้าใจในประเด็นล่อแหลม ส่งเสริมกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/858
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-255 พระครูอุทัยกิจจารักษ์.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.