Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/857
Title: รูปแบบภาวะผู้นาเชิงพุทธของผู้นาท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Buddhist leadership Model of local Administrative in Suratthani province
Authors: พันธวงษ์, ประสิทธิ์
ฐิตวิริโย, พระมหาศิริพงษ์
ครุฑคง, บุญรัตน์
สุวรรณนวล, ภัชลดา
Keywords: รูปแบบภาวะผู้นำ
ผู้นำท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี
รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธ
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการภาวะผู้นำและผู้นำเชิงพุทธ (๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงพุทธในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยนี้เป็นการใช้วิธีการศึกษาเอกสารและภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth/interview) ผู้บริหารที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีจังหวัด สุราษฎร์ธานีตั้งแต่ ๒๕๕๔ – ๒๕๕๙/การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอผลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ๑. แนวคิด ทฤษฎี และหลักการภาวะผู้นำและผู้นำเชิงพุทธ พบว่า เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำโดยใช้ ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่และทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม สามารถอธิบายผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่ได้รับรางวัลที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒. ภาวะผู้นำเชิงพุทธในจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นผู้บริหารที่ได้รับรางวัลที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับแนวคิดทฤษฎีได้ ๘ ประการ คือ ความรอบรู้ ความคิดริเริ่ม มนุษยสัมพันธ์ การตัดสินใจ ความน่าเชื่อถือ ความเป็นมิตร ความกระตือรือร้น ความศรัทธา ๓. นำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบรูปแบบการนำเสนอสังเคราะห์องค์ความรู้ได้ “BLMA MODEL” รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อผู้นำท้องถิ่น โดยอาศัยปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธ ๖ ประการ คือ พุทธิปัญญา มีศรัทธา กฎหมาย ซื่อสัตย์ โปร่งใส ปฏิบัติศีล ๕ สามารถเป็นแนวทางในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีส่งผลให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในกาพัฒนาจังหวัดที่เข้มแข้งในอนาคตต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/857
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-344 นายประสิทธิ์ พันธวงศ์.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.