Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/856
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พรมกุล, สุรพล | - |
dc.contributor.author | ฮวดศรี, ชาญชัย | - |
dc.contributor.author | ภู่สกุล, บุรินทร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-31T06:38:31Z | - |
dc.date.available | 2022-03-31T06:38:31Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/856 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพี่อศึกษาสถานการณ์ยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และบทบาทของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาในการป้องกันยาเสพติดตามหลักพระพุทธศาสนา ๒) เพี่อศึกษาการจัดการความรู้ในการป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ๓) เพื่อจัดทาฐานข้อมูลการจัดการความรู้ในการป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์ กลุ่มพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาใน ๙ จังหวัดคือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด หนองบัวลาภู สุรินทร์ มหาสารคาม นครราชสีมา อุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี จานวน ๑๙ รูป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม เฉพาะ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า ๑) สถานการณ์ยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากกลุ่มขบวนการค้ายาเสพติดยังคงใช้พื้นที่ภาคเหนือและประเทศเพื่อนบ้านเป็น เส้นทางการลาเลียงยาเสพติดเข้ามาในประเทศไทย ก่อนจะส่งพักตามจังหวัดขนาดใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยง การตรวจสอบของทางเจ้าหน้าที่ ยาเสพติดที่มีการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า รองลงมาคือ กัญชาแห้งและสารระเหย บทบาทของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาในการป้องกันยาเสพติด พบว่า เป็นวิทยากร อบรม เผยแพร่ชี้แจงโทษของยาเสพติดด้วยการใช้สื่อ เป็นผู้นาในการจัดโครงการการ ป้องกันยาเสพติด สร้างแรงจูงใจให้เห็นคุณค่าของชีวิตปลอดสิ่งเสพติด รณรงค์อบรมเยาวชนให้ ห่างไกลยาเสพติด ชักชวนให้ประชาชนปฏิญาณตนให้งดเหล้า อบายมุขในวันสาคัญของชาติหรือของ ศาสนา ส่งเสริมให้มีชุมชนคุณธรรม เผยแผ่ความรู้ทางสถานีวิทยุ นาผู้ติดยาเสพติดทากายบาบัด จิตบาบัด เวชบาบัด และอาชีวบาบัด ๒) การจัดการความรู้เรื่องการป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนา พบว่า ๑) ด้านการกาหนดเป้าหมายการป้องกันยาเสพติด พระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนามีความเข้าใจในเรื่องการ จัดการความรู้ว่า การจัดการความรู้ว่าเป็นการประมวลองค์ความรู้จากตัวบุคคล ข้อมูลสารสนเทศ ความคิด การกระทา รวมถึงประสบการณ์ของตัวบุคคล ซึ่งนามาสร้างความรู้และพัฒนาอย่างเป็น ระบบหรือเป็นนวัตกรรม จัดเก็บในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยจัดเก็บในรูปของแฟ้มเอกสาร คู่มือการปฏิบัติงาน และจัดเก็บระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) ด้านการแบ่งปันความรู้ พบว่า พระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนามีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้กัน โดยการพูดคุย ปรึกษาหารือ การนาความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรม ประชุม สัมมนา มาสรุป และจัดทาเป็นรายงานเสนอผ่านประธานพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนา เพื่อนาเสนอที่ประชุมประจาเดือน ซึ่งเป็นการแบ่งปันความรู้ที่ได้รับมาให้พระสงฆ์ที่ไม่ได้เข้าร่วมได้รับรู้ร่วมกันทุกรูป มีการเชื่อมโยงกับ กิจกรรมตามโครงการที่คณะสงฆ์ได้จัดขึ้นในระดับจังหวัด ระดับภาค โดยมุ่งไปที่การดาเนินงานการ ประชาสัมพันธ์ของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนา และมีการแจ้งข้อมูลหรือแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์เรื่อง การป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาให้คณะสงฆ์รับทราบ ๓) ด้านการสร้างคลังความรู้ พบว่า พระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรวบรวมผลงาน โดยการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ การเรียนรู้ร่วมกันเมื่อเกิดสิ่งใหม่ นาเสนอผลงานผ่านเว็ป ไซต์ โดยรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบจัดเก็บในแฟ้มของแต่ละรูป และระบบรวมผลงานเป็น หมวดหมู่ในรูปแบบไฟล์ข้อมูล ซึ่งเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ๓) การจัดกิจกรรมการป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาในภาคตะวันออก เฉียง เหนือ พระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนามีวิธีในการจัดกิจกรรมจนเกิดเป็นชุดองค์ความรู้จานวน ๕ เรื่อง คือ ๑) เรื่องสวดมนต์ข้ามปีเพื่อส่งเสริมการป้องกันยาเสพติดตามหลักพุทธศาสนา ๒) เรื่องศาสนธรรม สร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ๓) เรื่องงดเหล้าเข้าพรรษา ๔) เรื่องกฐินปลอดเหล้า สร้างบุญด้วยศรัทธา ๕) เรื่องงานศพปลอดเหล้า ๔) วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ แบ่งได้ ๒ กลุ่มคือ ๑) กลุ่มป้องกันยาเสพติด ใช้การบรรยายธรรม ๒) กลุ่มแก้ไขปัญหายา เสพติด ใช้ยาสมุนไพร ๕) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้การป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆ พัฒนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า พระสงฆ์บางรูปขาดความกระตือรือร้นที่จะเพิ่มทักษะความรู้ ให้ตนเอง การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับยาเสพติดแต่ละครั้งทิ้งช่วงนานเกินไปทาให้ไม่ต่อเนื่อง ตลอดถึงการ ไม่แบ่งปันความรู้ทาให้ความรู้ที่มีฝังอยู่ในตัวคนเดียวพระสงฆ์รูปอื่นไม่สามารถรับรู้ได้ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การจัดการความรู้, | en_US |
dc.subject | ยาเสพติด, | en_US |
dc.subject | พระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนา | en_US |
dc.title | การจัดการความรู้การป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en_US |
dc.title.alternative | The Drug Free Knowledge Management of Buddhist Monk Develop Sanga Groups in North East Area | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-084 สุรพล พรมกุล.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.