Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/853
Title: | ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ |
Other Titles: | Buddhist Psychological Factors That Influence An Organization's Personnel Responibilities Under The Local Government Buriram Province |
Authors: | ขันแก้ว, ทิพย์ พัฒนะสิงห์, ธนันต์ชัย |
Keywords: | พุทธจิตวิทยา ความรับผิดชอบต่อองค์กร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุรีรัมย์ |
Issue Date: | 2561 |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการสร้าง พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ ๒) เพื่อพัฒนากระบวนการทางพุทธจิตวิทยาความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร สังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ ๓) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทางพุทธจิตวิทยาต่อความรับผิดชอบ ต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) แบ่งวิธีดาเนินการวิจัยออกเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ ใช้แนวทางวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดาเนินการวิจัยด้วยการลงภาคสนาม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ระยะที่ ๒ จัดโครงการอบสัมมนา เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กร ระยะที่ ๓ ตรวจสอบ กระบวนการทางพุทธจิตวิทยาต่อความรับผิดชอบต่อองค์กร โดยใช้แนวทางวิธีการเชิงปริมาณ (Qualitative approach) ในการศึกษากระบวนการความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร โดยการศึกษาจากกลุ่มทดลอง จานวน ๓๐ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑.กระบวนการสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร พบว่า ด้านพุทธธรรม คือ การทางานในองค์กรควรใช้หลักพุทธธรรมเชิงบวก คือ การมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากว่า ประโยชน์เพียงบางคนบางกลุ่ม แบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบ มีอิสระในการแสดงความคิด มุ่งประโยชน์ ของหน่วยงานเป็นหลัก ปรึกษาหารือ หาแนวทางแก้ไขปัญหา มีกัลยาณมิตร ด้านจิตวิทยา พบว่า การสร้างกรอบแนวคิดพื้นฐานภายในองค์กรโดยการกาหนดแผนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กรหรือพฤติกรรมองค์กร เพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่น กว่าองค์กรอื่นๆ ด้านปัจจัยภายในองค์กร พบว่า ค่านิยมและการสร้างวัฒนธรรมองค์กร จะเห็นว่า องค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทางานที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ในองค์กร ซึ่งวัฒนธรรมการทางานที่มีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ มีความเคารพ และสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและจรรยาบรรณ ของทางราชการเกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของทางราชการ ๒.พัฒนากระบวนการทางพุทธจิตวิทยาความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร พบว่า เมื่อทา การทดสอบหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ กระบวนการสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กร ตามหลัก พุทธจิตวิทยาด้วยโมเดล ๔ อ แล้ว พบว่า พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๔๓ ๓.ตรวจสอบกระบวนการทางพุทธจิตวิทยาต่อความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร พบว่า การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เป็นการจัดกิจกรรมที่มีเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เล่นและมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยการพูดหรือการกระทาภายใต้กติกาข้อตกลง ซึ่งเนื้อหาในเกมแต่ละชุด ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทางสังคม และกิจกรรมที่สอดคล้องกัน ยังช่วยให้บุคลากรได้เกิดประสบการณ์ใหม่ และช่วยให้ เกิดทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง กระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา ๔ อ นี้ สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กรตามหลักพุทธจิตวิทยา ให้เกิดมีขึ้นในบุคลากร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ได้ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/853 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-005 ผศ.ดร.ทิพย์ ขันแก้ว.pdf | 11.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.