Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/852
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชยเมธี, พระมหาเฉลิมชัย | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-31T06:35:34Z | - |
dc.date.available | 2022-03-31T06:35:34Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/852 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของบทกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ๒) เพื่อศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการวิจารณ์ร้อยกรองร่วมสมัย ๓) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรมและหลักพุทธธรรมจากบทกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ตามแนวทฤษฎีการวิจารณ์ร้อยกรองร่วมสมัย และ ๔) เพื่อสังเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์มาประยุกต์ใช้กับสังคมไทยในปัจจุบัน วิธีการดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์คือ ศึกษาวิเคราะห์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา บทกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ของชิต บุรทัต และตำราเกี่ยวกับทฤษฎีการวิจารณ์วรรณคดีร้อยกรองร่วมสมัย เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๗ (วรรณคดีวิจารณ์สำหรับครู) และเอกสารเกี่ยวกับการประพันธ์ฉันทลักษณ์ของไทย แล้วนำสิ่งที่ได้มาสังเคราะห์และวิจารณ์ตามทฤษฎีการวิจารณ์วรรณคดีร้อยกรองร่วมสมัย ผลการศึกษาพบว่า ๑) บทกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ มีเค้าโครงเรื่องมาจากชาดกในมหาปรินิพพานสูตรพระไตรปิฎก และอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆนิกายมหาวรรค ซึ่งชิต บุรทัต ได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้น เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของความสามัคคี ๒) ทฤษฎีการวิจารณ์วรรณคดีมีมากมายหลายแนว เช่น การวิจารณ์วรรณคดีร้อยกรองร่วมสมัย การวิจารณ์วรรณคดีแนวภาษาศาสตร์ การวิจารณ์วรรณคดีแนวจิตวิทยา การวิจารณ์วรรณคดีแนวสังคมวิทยา การวิจารณ์วรรณคดีแนวสุนทรียศาสตร์ การวิจารณ์วรรณคดีแนวปรัชญา เป็นต้น ๓) คุณค่าของบทกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์มี ๓ ด้าน คือ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คุณค่าด้านความรู้ คุณค่าด้านสุนทรียภาพในบทร้อยกรอง ๔) หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในบทกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ มี ๖ ประการ ได้แก่ สังคหวัตถุ ๔ สาราณิยธรรม ๖ อปริหานิยธรรม ๗ สัปปุริสธรรม ๗ เหตุทำความแตกร้าวกัน ๑๘ กาลามสูตร ๑๐ ๕) การประยุกต์ใช้คุณค่าและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในบทกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์กับสังคมไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การประยุกต์ใช้คุณค่าและหลักธรรมสำหรับบุคคล และการประยุกตใช้คุณค่าและหลักธรรมสำหรับสังคม ข้อเสนอแนะ ๑) ควรให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีทั้งในสถานศึกษาและชุมชนด้วยการจัดให้มีการประกวดแต่งคำประพันธ์ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่กลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายชมรมอนุรักษ์ภาษาไทยด้วย ๒) ควรมีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทยที่ยั่งยืน และจัดหาแหล่งทุนเพื่อใช้ดำเนินการด้านกิจกรรมรู้รักษ์ภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทย ๓) ควรส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทยโดยมีวัดและสถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้ผู้ที่มีทักษะเกี่ยวกับการ้อยกรองคำฉันท์ได้เขียนคำฉันท์สดุดีผู้ที่ประกอบคุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคม ๔) ควรส่งเสริมให้มีการนำผลการวิจัยด้านการวิเคราะห์หลักธรรมในวรรณกรรมต่าง ๆ มาสร้างกิจกรรมเพื่อประยุกต์ใช้กับสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คุณค่าวรรณกรรม | en_US |
dc.subject | หลักพุทธธรรม | en_US |
dc.subject | กวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ | en_US |
dc.title | การศึกษาเชิงวิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรมและหลักพุทธธรรม ที่ปรากฏในกวีนิพนธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ | en_US |
dc.title.alternative | An Analytical Study of the value of art created language and Buddhist Doctrine found in Thai Poetry in Title “Sa Mak Kee Pait Kham Chan” | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2557-091 พระมหาเฉลิมชัย ชยเมธี.pdf | 3.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.