Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/850
Title: | ศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวชายแดนกัมพูชาลาวไทย |
Other Titles: | Study on Strengthening Communities along the Border Of Cambodia Lao PDR and Thailand |
Authors: | ชินโกมุท, ธรธรรม์ วุฑฺฒิธมฺโม, พระมหาจิตนเรศ ญานิสฺสโร, พระครูปลัดศรีอรุณ นามอ่อน, โสรัจ อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์ |
Keywords: | การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ชุมชนตามแนวชายแดนกัมพูชาลาวไทย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง ศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวชายแดนกัมพูชา ลาว ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวชายแดน ขอบเขตของการวิจัย เป็นการศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวชายแดนกัมพูชา ลาว ไทย ได้ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เป็นการศึกษาจากเอกสาร และสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกประชาชนตามแนวชายแดนของจังหวัดอุบลราชธานี กัมพูชา ลาว ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำภาครัฐ และประชาชนตามแนวชายแดนกัมพูชา ลาว ไทย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบงาย จำนวน ๓๐ คน ๑. ด้านการเมืองและความมั่นคง คือ ดังนี้การอยู่ร่วมกันประชาชนในพื้นที่จะดำเนินตามข้อบันทึกตกลงของเจ้าหน้าที่ภาครัฐของทั้งสองฝ่ายอย่างเคร่งครัดมีการพูดคุยมีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่ตลอดเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูลญาติมิตรฉันพี่น้องเสมอ ซึ่งในพื้นที่ตามแนวชายแดนจะปฏิบัติกฎระเบียบบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่และทำสัญญาประชาคมร่วมกันโดยทางฝ่ายกัมพูชานั้นจะเป็นฝ่ายทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่แก้ไขไปก่อนและรายงานผลไปส่วนกลางจึงทำให้คนในพื้นที่ไม่กล้าที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งเพราะส่วนใหญ่คนในพื้นที่นั้นจะเป็นครอบครัวของทหารที่มาดูแลความสงบ ๒. ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ ปัญหาการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ คือ แม้ประชาชนตามแนวชายแดนสองพื้นที่มี ประวัติศาสตร์การพัฒนาความสัมพันธ์ต่อกันทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจและสังคมมาต่อเนื่องยาวนาน แต่ช่องว่างระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสองประเทศยัง คงมีอยู่ ความแตกต่างในสถานะทางเศรษฐกิจนี้ทำให้เกิดปัญหาตามมา และความพยายามร่วมมือของภาครัฐและเอกชนตามแนวชายแดนของสองประเทศมีทั้งความร่วมมือด้านแรงงาน ความร่วมมือด้านการค้า ความร่วมมือด้านการลงทุน และความร่วมมือด้านการขนส่ง สิ่งเหล่านี้สามารถเกื้อหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้านแรงงาน ชายแดนอุบลราชธานีมีการจัดการแรงงานกัมพูชา และลาวที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ การจัดการแรงงานข้ามชาติในจังหวัดชายแดนอื่นๆ ๓. ด้านสังคมและวัฒนธรรม วัฒนธรรมประเพณีในพื้นที่ชายแดน เช่น ประเพณีสงกรานต์ของชาวบ้านสำโรง มีลักษณะพิเศษเป็นการแสดงออกถึงเรื่องของตำนาน ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตผู้คนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา-ลาว รวมถึงการละเล่นดั้งเดิมของหมู่บ้าน ปัจจุบันคนชายแดนยังธำรงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมในวาระพิเศษต่างๆ ส่วนใหญ่เกี่ยวโยงกับพุทธศาสนาเช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ตามแบบไทย กัมพูชาและลาว การร่วมงานบุญตักบาตรในโอกาสสำคัญ และด้วยอุปสรรคด้านภาษาที่มีไม่มากนัก ทำให้หลายครัวเรือนแต่งงานระหว่างชาวกัมพูชา ชาวไทย และชาวลาว การไปมาหาสู่กันฉันญาติมิตร และการข้ามแดนมาเรียนในฝั่งไทยแบบไปเช้าเย็นกลับ หรือมาร่วมกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมที่จัดในฝั่งไทยการข้ามแดนที่ด่านบ้านแหลมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การพัฒนาพื้นที่ชายแดน โดยไม่ต้องการให้มีปัญหาขัดแย้งกัน ส่วนปัญหาของทางการไทยในพื้นที่คือการไม่สามารถสื่อสารภาษาเขมรได้ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/850 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559 -181 นายธรธรรม์ ชินโกมุท.pdf | 6.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.