Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/84
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาขวัญชัย, กิตฺติเมธี,ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2021-07-22T09:21:53Z-
dc.date.available2021-07-22T09:21:53Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/84-
dc.description.abstractวัดในพระพุทธศาสนาถูกเข้าใจว่าสร้างขึ้นมาเพื่อให้พระภิกษุได้อาศัย ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรม วัดกลายเป็นสถานที่สำหรับพระภิกษุเท่านั้น แต่วัดสมานรัตนารามได้พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่เคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่ให้คนมาประกอบอาชีพและทำกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างรายได้ ด้วยเหตุดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของวัดที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดสมานรัตนาราม ผลการวิจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์และจากข้อมูลเอกสารมีดังนี้ 1. วัดสมานรัตนารามมีบทบาทสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาปริยัติธรรมของพระภิกษุและการปฏิบัติธรรมของฆราวาส 2) ส่งเสริมชุมชนในเรื่องการค้าขายแลกเปลี่ยนทางธุรกิจและเป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ 3) สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดกิจการสาธารณประโยชน์ เช่น การสร้างโรงพยาบาล การพัฒนาคมนาคม การสนับสนุนหน่วยงานราชการ 2. รูปแบบของการพัฒนาวัดสมานรัตนาราม มาจากวิสัยทัศน์ของเจ้าอาวาส วัดสมานรัตนารามแบบเดิมนั้นเป็นวัดตามวิถีชีวิตของพระภิกษุที่มีแนวคิดว่าสงบและเรียบง่าย อีกทั้งข้อปฏิบัติที่ควรยุ่งเกี่ยวกับชุมชนมากเกิดไป สภาพโบสถ์ วิหารและอาคารภายในวัดจึงถูกปล่อยให้เป็นไปตามนั้น ไม่มีการบูรณะซ่อมแซม เมื่อเจ้าอาวาสปรับปรุงวัดด้วยแนวคิดว่า วัดควรเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ด้วยการแก้ปัญหาภายในชุมชน สร้างอาชีพและรายได้แก่ประชาชนในชุมชน อีกทั้งตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนที่ต้องการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม 3. วัดได้สร้างภาคีเครือข่ายทางด้านสังคมโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเริ่มตั้งแต่การสร้างความเกี่ยวข้องกับชุมชนรอบวัดไปถึงชุมชนที่อยู่ห่างไกลผ่านอาชีพและรายได้รวมไปถึงสาธารณประโยชน์ต่าง จนทำให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอื่นที่ไม่ใช่วัดและชุมชนรอบวัดเท่านั้น ภาพรวมของงานวิจัยทำให้เกิดความเข้าใจการพัฒนาวัดสมานรัตนารามในฐานะวัดของพระพุทธศาสนาเถรวาทของประเทศไทย และสามารถนำไปแบบอย่างในการดำเนินการพัฒนาวัดทรุดโทรมและมีลักษณะคล้ายคลึงกันให้กลับมาเป็นวัดของชุมชนได้en_US
dc.subjectวัดen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.titleวัดที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน: กรณีศึกษาวัดสมานรัตนารามen_US
dc.title.alternativeA Temple that meets the Community’s Demand: A Case Study of Wat Samanrattanaramen_US
dc.typeBooken_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research Reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.