Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/849
Title: พุทธรัฐศาสตร์ : การบูรณาการเพื่อการบรรลุความสมบูรณ์แห่งรัฐ
Other Titles: Buddhist Political Science: Integrated for Achievement Complete of State.
Authors: อินฺทปญฺโญ, บุญเลิศ
Keywords: พุทธรัฐศาสตร์
,ธรรมาธิปไตย
ธรรมราชา,
ธรรมรัฐ
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มี 1. เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองในพระไตรปิฎก 2. เพื่อศึกษา การบริหารอานาจตามแนวพุทธในระบบการปกครองแบบธรรมรัฐ และ 3. เพื่อเสนอระบอบการ ปกครองแบบธรรมาธิปไตย ในฐานะอุดมคติเพื่อการสร้างความสมดุลแห่งอานาจในการปกครองรัฐ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจาก เอกสาร และเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนามจากการจัดสัมมนาเชิงวิชาการและประชุมผู้เชี่ยวชาญ (Expertise Meeting) มีผู้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา พระสงฆ์ และสื่อมวลชน จานวน 120 รูป/คน จัดหมวดหมู่ข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล ทาการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Context Content Analyses) ผลการวิจัยพบว่าการกาเนิดรัฐและผู้ปกครองทางพระพุทธศาสนาปรากฏในอัคคัญญสูตร และมหาโควินทสูตร ได้นาเสนอวิวัฒนาการของรัฐ การก่อเกิดของรัฐและผู้ปกครองในแนวคิด ทางพระพุทธศาสนา รัฐที่ดีคือธรรมรัฐ การปกครองที่จะต้องปกครองด้วยหลักสามัคคีธร รม อันประกอบขึ้นจากหลักอปริหานิยธรรมและผู้ปกครองจะต้องประกอบด้วยธรรมที่เรียกว่า ธรรมราชา การบริหารอานาจตามแนวคิดในระบอบการปกครองแบบธรรมรัฐ ยึดหลักหัวใจของพระพุทธศาสนา 3 ประการ คือ ไม่ทาชั่ว ทาดี ทาจิตให้ผ่องใส หลักการใช้อานาจในการปกครองรัฐปรากฏ ในจักกวัตติสูตรก็ คือ “ธรรมวิชัย”การชนะข้าศึกโดยมิต้องใช้อานาจมิต้องใช้ศัตรา แต่ใช้ธรรมจะต้อง เปลี่ยนเสียงกลองศึกให้เป็นเสียงกลองแห่งธรรม (ธัมมเภรี) ดาเนินนโยบายบริหารบ้านเมือง โดยใช้ ธรรมาธิปไตย คือ ถือธรรมเป็นใหญ่ ธรรมาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองตามหลักพุทธรัฐศาสตร์ ที่ปกครองโดยชนชั้นนาที่มาจากมติมหาชน เพื่อมาทาหน้าที่บริหารองค์กรหลักแห่งรัฐอันประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบราชการ ทหาร และองค์กรอิสระทั้งหลาย โดยชนชั้น นาต้องปกครองพลเมืองบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทุนทางวัฒนธรรมและพุทธธรรม เพื่อสร้างรัฐให้เป็นพื้นที่ของพลเมืองจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/849
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-040 พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.