Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/848
Title: วิสาหกิจจักสานจังหวัดแพร่ : องค์ความรู้และการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Titles: Wicker Enterprises in Phrae Province : Knowledge and Network’s Management for Sustainable Development
Authors: จิรภัคพงค์, ชลธิชา
สุวรรณาภา, ฉวีวรรณ
มงคลพิพัฒน์พร, ปุญยวีร์
อัฐวงศ์, พัฒน์นรี
Keywords: วิสาหกิจจักสานจังหวัดแพร่
องค์ความรู้
การจัดการเชิงเครือข่าย
การพัฒนาที่ยั่งยืน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบริบท สภาพปัจจุบันและปัญหาการดาเนินงาน, องค์ความรู้ การจัดการเชิงเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วม, ระบบความสัมพันธ์และผลสาเร็จของการจัดการ เชิงเครือข่าย และเสนอองค์ความรู้และระบบการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ วิสาหกิจจักสานจังหวัดแพร่ ศึกษาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสาน จากไม้ไผ่บ้านค่างาม และกลุ่มวิสากิจชุมชนกลุ่มภูมิปัญญาสานแอ็บข้าวบ้านทุ่งน้าใส โดยวิธีการศึกษา เอกสาร การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดแพร่มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนซึ่งก่อให้เกิดรายได้ ส่งเสริมและอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีหน่วยงานระดับอาเภอ และจังหวัด ให้การส่งเสริมและสนับสนุน ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ การดาเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชนล่าช้า จากการเข้าศึกษากลุ่มเป้าหมาย พบว่า วิสาหกิจชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาด้านความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างรายได้ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่าการแข่งขัน การดาเนินงานเกิดจากการร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วม ทา ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหา ในการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจของชุมชน การบริหารจัดการกลุ่ม วิสาหกิจทาอย่างมีแบบแผน มีระบบ มีขั้นตอน เน้นความร่วมมือในการทากิจกรรมเพื่อให้สามารถ พึ่งพาตนเองได้ การจัดการเชิงเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วมส่งผลให้ประสบผลสาเร็จนาไปสู่ ความเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นประกอบด้วย มีการรับรู้มุมมองร่วมกัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เกิด ผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง การเสริมสร้าง ซึ่งกันและกัน การพึ่งพิงอิงร่วมกัน และการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ความสัมพันธ์และผลสาเร็จของ การจัดการเชิงเครือที่มีต่อวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนเป็นการแสดง บทบาทระหว่างคนในกลุ่ม และองค์กรภายนอก ในการบริหารจัดการกลุ่ม โดยคานึงถึงการบริหาร จัดการองค์กร การบริหารธุรกิจของกลุ่ม การมีส่วนร่วมกับองค์กรภาครัฐ การมีส่วนร่วมของสมาชิก สาหรับองค์ความรู้และระบบการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจ มีดังนี้ ๑) การพัฒนาการจัดการองค์กร ๒) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ๓) การพัฒนากิจกรรมและ กระบวนการรู้เรียนของสมาชิกกลุ่ม ๔) การพัฒนาการตลาด ๕) การประสานงานกับภาคีอื่น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/848
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-019 ชลธิชา จิรภัคพงค์.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.