Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/847
Title: พลวัตวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา: คติความเชื่อ และการละเล่น
Other Titles: Cultural Dynamics of People Along Cambodian Thai Border : Apocalypse and Play
Authors: ขอเจริญ, ธยายุส
พระครูโกศลศาสนวงศ์, (มนตรีวงษ์)
ขนฺติธโร, พระธงชัย
ประทุมแก้ว, สุทัศน์
Keywords: พลวัต
วัฒนธรรม
แนวชายแดนไทยกัมพูชา
คติความเชื่อ
การละเล่น
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติคุณค่าและความสำคัญด้านความเชื่อ การละเล่นของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านมิติความเชื่อและการละเล่น (3) เพื่อวิเคราะห์ ความเชื่อ และการละเล่นกับการสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนาจาก กลุ่มเป้าหมาย นำผลสนทนามาวิเคราะห์และเขียนรายงานการวิจัยด้วยวิธีเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ประวัติคุณค่าและความสำคัญด้านความเชื่อ การละเล่นของประชาชนตามแนวชายแดน ไทย-กัมพูชา จากการศึกษาพบว่า พิธีกรรมดังกล่าวมีคุณค่าต่อระบบการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกัน ของคนในสังคม การช่วยเหลือคนที่สิ้นหวังจากการเจ็บป่วย ซึ่งคุณค่าที่เกิดขึ้นล้วนมีผลกระทบต่อคน ในพื้นที่ เช่น 1. เกิดคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม 2. เกิดคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ 3. เกิดคุณค่าทางด้าน การรักษาโรค 4. เกิดคุณค่าด้านสังคม ดังนั้น คุณค่าและความสำคัญด้านความเชื่อ และการละเล่น ของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จึงปรากฏเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรมดังนี้ 1) ความกตัญญู กตเวที 2) สามัคคีธรรม 3) ความเสียสละ 4) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านมิติความ เชื่อและการละเล่น ความเชื่อในพิธีกรรม “มะม๊วต” ได้มีการสืบทอดต่อกันเรื่อยมาจากรุ่นสู่รุ่น และมี การเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนและสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี องค์ประกอบที่เกี่ยวกับ ความเชื่อนั้นประกอบด้วย แนวคิด พิธีกรรม และผู้ประกอบพิธีกรรม เช่น ความเชื่อที่เกี่ยวกับผี วิญญาณ ความเชื่อที่เกี่ยวกับของรักษาโรค ความเชื่อที่เกี่ยวกับการเข้าทรง “มะม๊วต” จะมีการจัด พิธีกรรมและการติดต่อกับวิญญาณโดยผ่านร่างทรง คือ ครูผู้ประกอบพิธีกรรม “มะม๊วต” ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมผ่านมติความเชื่อ และการละเล่นพิธีกรรม “มะม๊วต” ประกอบด้วย ข 1. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม 2. ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ 3. ความสัมพันธ์ทางด้านสังคม เป็นต้น จากการวิเคราะห์ความเชื่อ และการละเล่นกับการสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ถือได้ว่าเป็นคติความเชื่อที่มีการนำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาประยุกต์ใช้ โดยถือเป็นหลักปฏิบัติที่มีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ของชุมชน ซึ่งคติความเชื่อ และการละเล่นนี้ มีความสัมพันธ์ต่อการประกอบพิธีกรรมเป็นอย่างมาก เช่น พิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ การทำบุญเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย มีการจัดขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษอย่างใหญ่โต พิธีกรรมมะม๊วตของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา มีความเชื่อว่า มะม๊วตนั้นเป็นพิธีกรรมการเข้าทรงเพื่อรักษาคนป่วยและเป็นการบูชาครูผู้การประกอบพิธีกรรมการเข้าทรงมะม๊วต องค์ประกอบสำคัญของพิธีกรรมมะม๊วตนั้น ประกอบด้วย 1) ผู้ร่วมพิธีกรรม อาจารย์ผู้ประกอบพิธี (ผู้เป็นร่างทรง ลูกศิษย์ของอาจารย์ผู้เป็นร่างทรง กลุ่มผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมพิธี) 2) วันเวลาในการประกอบพิธีกรรม 3) สถานที่ ในการประกอบพิธีกรรม 4) ดนตรีในการประกอบพิธีกรรม และ 5) เครื่องประกอบที่ใช้ในพิธีกรรม ความเชื่อพิธีกรรมมะม๊วตในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น พบว่า พิธีกรรม มะม๊วตไม่ได้เป็นพิธีกรรมที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของ ประชาชนที่นับถือผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/847
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-038นายธยายุส-ขอเจริญ.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.