Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/845
Title: | การศึกษาประวัติศาสตร์และพุทธศิลป์ในชุมชนโบราณ : เมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพาน จังหวัดกำแพงเพชร |
Other Titles: | A study of History and Buddhist Art in the Ancient Communities : Muang Nakorn Chum, Muang Trai-Truang and Muang Bang Phan, Kamphaeng Phet province |
Authors: | พระราช, วชิรเมธี พระเมธี, วชิรภูษิต พระครู, โกศลวชิรกิจ แสนคำ, ธีระวัฒน์ |
Keywords: | ประวัติศาสตร์ พุทธศิลป์ ชุมชนโบราณ เมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์ เมืองบางพาน |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง การศึกษาประวัติศาสตร์และพุทธศิลป์ในชุมชนโบราณ : เมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพาน จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และลักษณะพุทธศิลป์ในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพาน, (๒) เพื่อศึกษา แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมือง บางพาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ (๓) เพื่อสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ และพัฒนาโบราณสถานในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพาน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพานมี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ร่วมสมัยกัน มีความรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙- ๒๐) จึงทำให้ลักษณะพุทธศิลป์ส่วนใหญ่ในชุมชนโบราณเป็นศิลปะสุโขทัย โดยในชุมชนโบราณเมือง นครชุมพบโบราณสถานสำคัญ ๙ แห่ง ชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์พบโบราณสถานสำคัญ ๓ แห่ง และชุมชนโบราณเมืองบางพานพบโบราณสถานสำคัญ ๑ แห่ง โบราณสถานส่วนใหญ่ที่พบเป็นเจดีย์ ประธาน ฐานวิหาร ฐานมณฑปและฐานเจดีย์ราย โบราณสถานในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพานส่วนหนึ่ง ต้องเผชิญกับสภาพปัญหาการรุกล้ำ ทำลายและละเลยการอนุรักษ์ ทำให้อยู่ในสภาพชำรุด ทรุดโทรม รกร้าง เสื่อมโทรมและเสี่ยงต่อการพังทลาย จากการศึกษาพบว่าแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนา โบราณสถานในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์ และเมืองบางพาน ควรเป็นการร่วมมือ กันของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์และ พัฒนาในระดับนโยบาย แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานโดยประชาชน และแนวทาง การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพาน จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้เกิดกระบวนการทำงานเพื่อสร้าง เครือข่ายเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการประสานงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นตอนการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นตอนการคัดเลือกคณะทำงานเครือข่าย ขั้นตอนกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานเครือข่าย คณะทำงานเครือข่ายการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมือง ไตรตรึงษ์และเมืองบางพาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากทุดภาคส่วนได้ร่วมกัน กำหนดทิศทางการทำงานโดยนำแนวคิด “3E-Model” มาปรับประยุกต์ในสำหรับการอนุรักษ์และ พัฒนาโบราณสถานในชุมชนโบราณเมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์และเมืองบางพาน เพื่อให้เกิดการ อนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานอย่างจริงจังและยั่งยืนต่อไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/845 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-141 พระราชวชิรเมธี.pdf | 10.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.