Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/842
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมูลพันธ์, พระราชธรรมสารสุธี-
dc.contributor.authorกนฺตธมฺโม, พระกัญจน์-
dc.contributor.authorฐิติญาโณ, พระพรสวรรค์-
dc.contributor.authorประทุมแก้ว, สุทัศน์-
dc.date.accessioned2022-03-31T06:28:35Z-
dc.date.available2022-03-31T06:28:35Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/842-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนสี่เผ่าใน จังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ (3) เพื่อศึกษาการบูรณาการกระบวนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สาหรับผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยชุมชนมีส่วนร่วมใน การให้สัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการจัดเวทีวิชาการของกลุ่มชุมชนต่างๆ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า เป็นการเก็บข้อมูลเชิงภาคสนาม ผลจากการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทาให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จัก หรือจาได้ ส่วนวัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว รวมถึงรูปแบบของพฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้ เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจาก ระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสงัคม และมนุษย์กับธรรมชาติ ดังนั้น อัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรม จึงหมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มหรือความเจริญ งอกงามที่แสดงออกมาในรูปแบบของภาษา คติ ความเชื่อ ขนบ ประเพณี ศิลปะที่มีการสืบทอด ปฏิบัติและมีการยอมรับในระดับบุคคลและสงัคม การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนสี่เผ่าใน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการส่งเสริมให้บุคคลรู้จักช่วยตนเอง ยอมรับศักยภาพของมนุษย์ในการแก้ไข ปัญหา ตลอดจนให้รู้จักในเงื่อนไขเหตุปัจจัยและวิธีการ ซึ่งมีขั้นตอนครบถ้วนตามหลัก หลักพุทธธรรมหลายประการ ที่เหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุจะนาไปประยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิต เพื่อให้ได้รับประโยชน์สุข ตั้งแต่ขั้นต้นในการลงมือปฏิบัติ กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การรู้จักปฏิบัติตนที่ดีต่อ สภาพสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเรียกว่า ความสารวมอินทรีย์ทั้งหลาย มีสารวมตาสารวมหู สารวมจมูก สารวมลิ้น สารวมกายและสารวมใจ เพื่อจะได้ใช้เป็นพื้นฐานของศีล คือ เจตนางดเว้นจากความชั่วทางกาย และเจตนางดเว้นจากความชั่วทางวาจา เรียกว่า พัฒนาด้านความประพฤติหรือพัฒนาด้าน พฤติกรรมที่ดี อันเป็นช่องทางให้จิตใจพัฒนาและช่วยให้ปัญญางอกงาม อย่างน้อยพึงพัฒนาพฤติกรรม ที่ไม่เบียดเบียน แต่เป็นพฤติกรรมที่สร้างสรรค์เกื้อกูล ให้ดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติและเข้าถึง สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ ทาให้เข้าใจและเห็นชีวิตที่มีคุณค่าเป็นความดีงาม พร้อมกับทาให้มีอายุยืน ต่อไปด้วย ผู้สูงอายุจึงต้องศึกษาเรียนรู้และทาความเข้าใจหลักพุทธธรรม และนาไปปฏิบัติใน ชีวิตประจาวัน การบูรณาการแนวคิดการดูแลสุขภาพองค์รวมตามหลักการพระพุทธศาสนา เข้ากับหลักการดูแลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งนาสถานการณ์ สภาพปัญหา ความ ต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุมาการพัฒนา สาธารณสุขได้แบ่งการดูแลออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านการส่งเสริม (2) การป้องกัน (3) การรักษา (4) การฟื้นฟูสภาพ โดยทั้งหมดอยู่ในหลักการของ การดูแลสุขภาพองค์รวม และมีการกาหนดบทบาทหน้าที่ในการดาเนินงาน และมีผลการดาเนิน กิจกรรมในด้านต่างๆ ให้สอดรับเหมาะสมกับบริบทของผู้สูงอายุ ซึ่งองค์ประกอบของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ด้าน กล่าวคือ 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ 3. ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 4. ด้าน สิ่งแวดล้อม และ 5. ด้านความมั่นคงในชีวิต ดังนั้น การดูแลสุขภาพจึงเป็นการดูแลรักษาทั้งกายและ ใจไปพร้อม ๆ กัน เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีงามยิ่งขึ้นไป มีการแก่ เจ็บ และตาย อย่างมีคุณภาพ พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า สิ่งจาเป็นพื้นฐานของมนุษย์คือปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์เป็นอยู่ด้วยการบิณฑบาต การนุ่งห่มผ้า บังสุกุล การอยู่โคนไม้ และการฉันยาดองด้วยน้ามูตรเน่า ถือประโยชน์และความพอดีเป็นประมาณ ทรงสอนให้รักษาสุขภาพเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสทั้งสุขภาพส่วนตัว ส่วนรวม และต่อ สิ่งแวดล้อม แม้แต่บุคคลทั่วไปก็สามารถนาไปปฏิบัติได้เช่นกันen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมen_US
dc.subjectชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษen_US
dc.titleกระบวนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษen_US
dc.title.alternativeThe process support the quality of life the elderly using the cultural identities of the four tribes in Si Sa Ket Province.en_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.