Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/841
Title: การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปโดยการร่วมมือของบริษัทเอกชน ในจังหวัดระยอง
Other Titles: The Community enterprise development of processing groups by cooperation of private companies in Rayong Province
Authors: พระครู, รัตนากรวิสุทธิ์
อมรทตฺโต, บุญรอด
พระครู, ปริยัติสุวัฒนาภรณ์
พระครู, สังฆวิสุทธิคุณ
เชื้อสมุทร, สุเทพ
Keywords: การพัฒนา
วิสาหกิจชุมชน
กลุ่มแปรรูป
บริษัทเอกชน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปโดยการร่วมมือของบริษัทเอกชน ในจังหวัดระยอง ๒) เพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือของบริษัทเอกชนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูป ในจังหวัดระยอง และ ๓) เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปโดยการร่วมมือของบริษัทเอกชนในจังหวัดระยอง การวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จานวน ๒๕๖ คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผู้ให้ข้อมูลหลักจานวน ๒๐ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพปัญหาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปโดยการร่วมมือของบริษัทเอกชน ในจังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๕ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๘๗ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป ซึ่งอันดับที่ ๑ ได้แก่ ด้านการจัดการ มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๔ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๙๗ รองลงมา ได้แก่ ด้านการผลิต มีค่าเฉลี่ย ๓.๕๖ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๙๘ และอันดับสุดท้ายได้แก่ ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ย ๓.๓๕ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๙๖ ตามลาดับ ๒. วิเคราะห์ความร่วมมือของบริษัทเอกชนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปในจังหวัดระยอง พบว่า ปัจจุบันกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น โดยตั้งเป็นกลุ่มเพื่อนชุมชน ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า, SCG, บริษัทโกล, บริษัทดาว และบริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล จากัด (มหาชน) ช่วยกันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในเขตนิคมอุตสาหกรรม โดยมีส่วนร่วม ๑) ด้านบุคลากร ๒) ด้านงบประมาณ ๓) ด้านวัสดุอุปกรณ์ ๔) การตลาด ๓. การสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปโดยการร่วมมือของบริษัทเอกชนในจังหวัดระยอง พบว่า ภาคีเครือข่ายการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูป ประกอบด้วย ๑) ชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด ๒๑ กลุ่ม ๒) บริษัทเอกชน มีการรวมกลุ่มกัน โดยใช้ชื่อว่า เพื่อนชุมชน ๓) นักวิชาการ กลุ่มแปรรูปวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดระยอง ได้มีการสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยการสนับสนุนและส่งเสริมของกลุ่มบริษัทเอกชน ๔) หน่วยงานราชการ ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชน มีหน่วยงานหลัก คือ ภาคการเกษตรและหน่วยงานพัฒนาชุมชน เป็นผู้กากับดูแล มีการประเมินเพื่อออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ชุมชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/841
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-326 พระครูรัตนากรวิสุทธิ์.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.