Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/840
Title: การพัฒนากิจกรรมและการประกอบสัมมาชีพของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน
Other Titles: Honest Livelihood and Activities Development of Buddhist Agriculture Village in Nan Province
Authors: ศรีลา, ธนวัฒน์
Keywords: การพัฒนากิจกรรม
การประกอบสัมมาชีพ
หมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมและการประกอบสัมมาชีพของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่านมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและกิจกรรมการประกอบอาชีพที่พึ่งพาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมและการประกอบสัมมาชีพของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน 3) เพื่อวิเคราะห์การประกอบอาชีพกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน วิธีการวิจัย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาจากเอกสารรายงาน การวิจัยที่เกี่ยวข้องและมีการสัมภาษณ์และ Focus Group Discussio ประกอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากร จำนวน ๔0 คน ซึ่งเป็นบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มเกษตรกรหมู่บ้านดงป่าสัก อำเภอภูเพียง จังหวัดน่านจำนวน 10 คน หมู่บ้านโป่งคำ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่านจำนวน 10 คน หมู่บ้านฟ้า อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน จำนวน 10 คน หมู่บ้านศิลาเพชร ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 10 คน จากการศึกษาพบว่า ลักษณะกิจกรรมด้านการเกษตรมีลักษณะกิจกรรม ๔ ลักษณะ ๑) การทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่เน้นการดำรงชีพเพื่อให้อยู่ได้ในพื้นที่โดยพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ๒) การทำการเกษตรแบบผสมผสานแนวใหม่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีหลักการระเบิดจากข้างในลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ผลิตเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ภายในครอบครัว ๓) การเกษตรที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวและกระแสการดูแลสุขภาพ กลุ่มนี้จะมีต้องการสินค้าด้านการเกษตรที่ดีมีคุณภาพและปลอดภัย ๔) การเกษตรแบบค้าขาย ที่เน้นการผลิตจำนวนไม่มาก การผลิตลักษณะนี้มีการผลิตที่ควบคุมในเรื่องของคุณภาพจึงเป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนการพัฒนากิจกรรมการประกอบสัมมาชีพนั้นจะมุ่งเน้นการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโดยวิธีการการตระหนักถึงสภาพปัญหาของตนเองที่ต้องเผชิญ การรวมกลุ่ม ศึกษาดูงาน การทดลองทำ การติดตามผล และการพัฒนาต่อยอด เกี่ยวกับผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผนวกกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากภาครัฐ และการค้นหาทุนที่มีในชุมชนเพื่อเป็นจุดขาย ให้กับชุมชนจนนำมาซึ่งรายได้ของคนในชุมชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/840
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-131 นายธนวัฒน์ ศรีลา.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.