Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/839
Title: จิตสำนึก โอกาสและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการธรรมาภิบาลท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรภาคเอกชน และองค์กรวัฒนธรรม ในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: People’s Consciousness, Opportunity and Participation in Local Governance Process: A case study of Tambon Administration Organization, Non-Government Organization and Cultural Organization in Ubonratchathani Province
Authors: จันทร์โสดา, สมนึก
ธมฺมจาโร, สิริชัย
เขมปญฺโญ, สังวาน
สมาจาโร, สมพล
บุญจำรูญ, ส่งศักดิ์
Keywords: จิตสำนึก
การมีส่วนร่วมของประชาชน
โอกาส
องค์กรวัฒนธรรม
กระบวนการธรรมาภิบาลท้องถิ่น
องค์กรภาคเอกชน
องค์การบริหารส่วนตำบล
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ: ๑) ศึกษาจิตสำนึกและโอกาสของประชาชนในกระบวนการธรรมาภิบาลท้องถิ่นในด้านการมีส่วนร่วมและด้านความโปร่งใส ขององค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรภาคเอกชน และองค์กรวัฒนธรรม ในจังหวัดอุบลราชธานี ๒) ศึกษาปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับจิตสำนึกและโอกาสของประชาชนในกระบวนการธรรมาภิบาลท้องถิ่นในด้านการมีส่วนร่วมและด้านความโปร่งใส ๓) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสำนึกและโอกาสของประชาชนในกระบวนการธรรมาภิบาลท้องถิ่นในด้านการมีส่วนร่วมและด้านความโปร่งใส การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบคำถามปลายเปิด ผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบด้วย สมาชิกสภาและฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชน จำนวน ๑๕ คน เจ้าหน้าที่องค์กรภาคเอกชนและประชาชนในเขตบริการ จำนวน ๑๕ คน และพระสงฆ์และประชาชนเขตบริการของวัด จำนวน ๑๕ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ด้านจิตสำนึกและโอกาสของประชาชนด้านการมีส่วนร่วมและด้านความโปร่งใส การที่แต่ละองค์กรมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน ได้ส่งผลให้จิตสำนึกและโอกาสในการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน องค์การบริหารส่วนตำบล จัดให้มีการทำประชาคมปีละครั้งโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจจัดลำดับโครงการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนดรูปแบบการทำประชาคม ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมโดยมีส่วนหนึ่งไม่ให้ความสนใจเข้าร่วม มีการจัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้าร่วม หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการประชุมพิจารณาโครงการเพื่อบรรจุลงในข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจเข้าร่วม องค์กรภาคเอกชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มด้อยโอกาส รับฟังและให้คุณค่าต่อความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายในการร่วมกันค้นหาและแก้ไขปัญหา ตลอดทั้งให้ความรู้ช่องทางการเข้าถึงสิทธิและบริการของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรงกับพื้นที่และประเด็นปัญหาด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม องค์กรวัฒนธรรม ประชาชนมีจิตสำนึก ศรัทธาและอาสาร่วมมือในการสนับสนุนวัด ขณะที่วัดได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการรับฟังและให้คุณค่าต่อความคิดเห็นของประชาชนนับตั้งแต่การแต่งตั้งเจ้าอาวาส นอกจากนี้วัดได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหารงานและการบริหารเงินของวัด ๒. ปัญหาอุปสรรคต่อจิตสำนึกและโอกาสของประชาชนในด้านการมีส่วนร่วมและด้านความโปร่งใส ปัญหาสำคัญที่พบโดยเฉพาะในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบล คือ ประชาชนและเครือข่ายประชาสังคมไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลเชิงลึกในการค้นหาปัญหาและความต้องการ การเสนอโครงการในการทำประชาคมไม่ได้เกิดจากจิตสำนึกภายในชุมชน ส่งผลต่อการขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการอื่น เช่น การพิจารณาข้อบัญญัติงบประมาณ การดำเนินโครงการและการติดตามตรวจสอบโครงการให้เป็นไปอย่างโปร่งใส นอกจากนี้ปัญหาช่องว่างของข้อมูลและขาดการสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการขาดจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชนและทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากระบวนการทั้งหมดเป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนประชาชนเป็นผู้เรียกร้องสิทธิหรือผู้รอรับประโยชน์ ส่วนปัญหาการดำเนินงานขององค์กรภาคเอกชนที่สำคัญคือระยะเวลาดำเนินการโครงการเป็นช่วงสั้น ขาดความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมของประชาชนในระยะยาว และปัญหาขององค์กรวัฒนธรรมคือบทบาทของวัดที่ยังจำกัดในการเชื่อมโยงองค์กรหรือสถาบันอื่นในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการธรรมาภิบาลท้องถิ่น ๓. ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสำนึกและโอกาสของประชาชนในด้านการมีส่วนร่วมและด้านความโปร่งใส ทั้งสามองค์กรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและความโปร่งใสเชิงโครงสร้าง แต่มีปัจจัยที่ทำให้ระดับการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสมีความแตกต่างกัน องค์การบริหารส่วนตำบล การที่ประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลเป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่ได้มีส่วนร่วมเชิงลึกในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการและร่วมตรวจสอบติดตามผล และส่งผลให้ประชาชนเห็นว่าการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วนไม่ได้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ องค์กรภาคเอกชน ใช้ข้อมูลรอบด้านทั้งแหล่งข้อมูลมือสองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและข้อมูลเชิงลึกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนทำให้ได้ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงที่ชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กลุ่มเสี่ยงมีความไว้วางใจและสมัครใจร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการ ตลอดทั้งตระหนักในสิทธิมนุษยชนและมีข้อมูลในการเข้าถึงสิทธิและบริการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม องค์กรวัฒนธรรม ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างความโปร่งใสด้วยปัจจัยสำคัญสองประการ ประการแรกคือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อองค์กรโดยเฉพาะผู้นำองค์กรที่ได้มาโดยความเห็นชอบของประชาชน ประกอบกับคุณลักษณะของผู้นำองค์กรที่มีความซื่อสัตย์ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค ให้การสงเคราะห์ชุมชน ให้และแบ่งปันสิ่งที่ได้มากับทุกคน ไม่เลือกปฏิบัติ และประการที่สองคือการบริหารงานและบริหารเงินของผู้นำองค์กร ที่เป็นไปอย่างเปิดเผยโดยการกระจายอำนาจให้ประชาชนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปอย่างโปร่งใส
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/839
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-190 นายสมนึก จันทร์โสดา.pdf6.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.