Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/838
Title: | การพัฒนาศักยภาพของชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย - ลาว |
Other Titles: | A Potential Development of the Community and Local Administrative Organization in Enhancing Buddhist tourism and culture of Thai-Laos. |
Authors: | ดวงขันเพ็ชร, ทองคำ เกษานุช, สมพงษ์ พุทธจร, อภิวัฒชัย |
Keywords: | การพัฒนาศักยภาพ ชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมไทย-ลาว |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพของชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษา หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย – ลาว ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริม การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย – ลาว เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิง เอกสาร(Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใน ภาคสนาม (Field Study) โดยใช้วิธีวิทยาวิจัยแบบผสมผสานวิธี ที่มุ่งเน้นการสัมภาษณ์ การสังเกต และประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมกับพระสังฆาธิการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นาชุมชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว จานวน ๕๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา คือ แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ หรือแนวคาถามประกอบการสัมภาษณ์ (Interview Guideline) และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า ๑. หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว แบ่งได้เป็น ๔ ส่วน คือ ๑) แนวคิด ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ๒) แนวคิดเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว ๓) การท่องเที่ยวเชิงพุทธและ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ ๔) แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่น ๒. ผลการศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริม การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว พบว่า ๑) การท่องเที่ยวทาง พระพุทธศาสนามีข้อจากัดด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีจานวนน้อย และมักประสบปัญหาจากภัย ธรรมชาติ ด้านการบริหารจัดการขาดแนวทางการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และขาดทักษะด้านการบริการ ไม่มีมัคคุเทศก์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว ด้านการจัดกิจกรรมการ ท่องเที่ยว ขาดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมอาชีพและรายได้ของชุมชน กิจกรรมส่วนมากเป็น ข กิจกรรมทาบุญตามประเพณีชาวพุทธ คือการไหว้พระ ขอพรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ กราบนมัสการพระ ธาตุ ด้านการมีส่วนร่วม ยังขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวมีลักษณะการมี ส่วนร่วมตามประเพณีเท่านั้น ส่วนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม มีข้อจากัดในเรื่องความต่อเนื่องของ กิจกรรมที่มีขึ้นตามช่วงเวลาของเทศกาลเท่านั้น การบริหารจัดการส่วนใหญ่มีปัญหาหลักในการ อานวยความสะดวกด้านการจราจร สถานที่จอดรถ ห้องน้า ห้องสุขา นอกจากนั้นยังขาดการบูรณา การร่วมกันของวัด ภาคประชาชน และภาครัฐ ๓. ผลการศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว พบว่า ๑) ด้านทรัพยากร การท่องเที่ยว ต้องส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีดั้งเดิมของชุมชนให้มีความโดดเด่นสามารถดึงดูด นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอานวยความสะดวกให้เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวและ ให้เป็นมาตรฐานสากล ๒) ด้านการบริหารจัดการ ต้องมุ่งเน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโดย ภาครัฐให้การสนับสนุนทั้งองค์ความรู้ บุคลากร และงบประมาณ โดยบูรณาการการบริหารจัดการ ระหว่างวัด ภาครัฐ และภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ๓) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ต้องพัฒนา กิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ มีความหลากหลาย เหมาะสมกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและกฎหมาย บ้านเมือง ๔) ด้านการให้ความร่วม ต้องสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นวัด ชุมชน ภาครัฐ จิตอาสา ทุกขั้นตอนของกิจกรรมการท่องเที่ยว |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/838 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-331ดร.ทองคา ดวงขันเพ็ชร.pdf | 7.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.