Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/837
Title: การศึกษาองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชน ในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย
Other Titles: The study on the Knowledge of Buddhism and Local Wisdom in Conservation, use and Benefit Sharing from Community Forests in the Ing Basin, Phayao - Chiang Rai Provinces
Authors: สุทธะ, ชูชาติ
หงษ์ทอง, นภาพร
พระครูศรีวรพินิจ
อริยว้โส, พระครูใบฎีกาเฉลิมพล
Keywords: องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การอนุรักษ์
การใช้ประโยชน์
การแบ่งปันผลประโยชน์
ป่าชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีการและรูปแบบ ทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้น้าชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐและเอกชน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ้านวน ๓๐ รูป/คน พื นที่ใน การศึกษาคือ 1) บ้านบัว ต้าบลบ้านตุ่น อ้าเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 2) บ้านปี้ ต้าบลเวียง อ้าเภอเชียงค้า จังหวัดพะเยา และ 3) บ้านบุญเรือง ต้าบลบุญเรือง อ้าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดและวิธีการทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ การใช้ ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชน ตามหลักการจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อให้เกิดผล ผลิตที่ยั่งยืน 3 ด้าน (๑) การใช้อย่างชาญฉลาด คือ การรู้จักใช้ทรัพยากรป่าไม้ให้เกิดประโยชน์มาก ที่สุด ใช้ได้ยาวนานที่สุดและใช้อย่างประหยัดที่สุด (๒) การฟื้นฟูสิ่งที่เสื่อมโทรม คือ การท้าให้ ทรัพยากรป่าไม้ให้เสื่อมโทรมให้ดีขึ น (๓) การเก็บกักและแบ่งปัน คือ การรวบรวมและการเก็บรักษา ทรัพยากรที่มีแนวโน้มที่จะขาดแคลน ในทางพระพุทธศาสนาจะมีการประกอบพิธีกรรมที่มีการประยุกต์ มาจากพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นกุศโลบายในการอนุรักษ์โดยการจัดพิธีบวชป่าหรือบวชต้นไม้ พิธีสืบ ชะตาแม่น้า และพิธีฟังธรรมขอฝน ในทางภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการใช้ความเชื่อ พิธีกรรม จารีตประเพณี และวิถีปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการโดยการจัดพิธีเลี ยงผีขุนน้า พิธีเลี ยงผีฝาย และพิธีเลี ยงผีเจ้าที่ 2. รูปแบบทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์และ การแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย ทั ง 3 ชุมชนคือ บ้านบัว ต้าบลบ้านตุ่น อ้าเภอเมืองพะเยา บ้านปี้ อ้าเภอเชียงค้า จังหวัดพะเยาและบ้านบุญเรือง อ้าเภอเชียง ของ จังหวัดเชียงราย มีรูปแบบทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในอนุรักษ์ฯ ที่เหมือนกันคือ พิธีบวชป่า พิธีสืบชะตาแม่น้า พิธีเลี ยงผีขุนน้า เป็นการน้าความเชื่อทางพระพุทธศาสนากับภูมิปัญญา ท้องถิ่นทางภาคเหนือที่มีความเชื่อเรื่องผีเจ้าป่าเจ้าเขา รวมทั งการใช้ภูมิปัญญาที่เป็นความรู้ใหม่ คือ การท้าแนวกันไฟ การดับไฟป่า การปลูกป่า การเพาะพันธุ์กล้าไม้ท้องถิ่น การจัดตั งคณะกรรมการและ ข กฎระเบียบในการจัดการป่าชุมชน ทั งนี ในป่าชุมชนบ้านปี้ได้มีการท้าสถานีการเรียนรู้ในป่าชุมชน และ การอนุรักษ์ต้นผึ ง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีผึ งมาท้ารังเป็นประจ้าทุกปี และสร้างรายได้น้าไปสู่การจัดตั งกองทุน ป่าชุมชนบ้านปี้ 3. องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย ในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย (1) ด้านศาสนธรรม พระพุทธศาสนาสอนให้คนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตามหลักไตรสิกขา ซึ่งมีผลท้าให้เกิดความส้านึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรู้จักประมาณในการบริโภค หรือใช้สอย (2) ด้านศาสนบุคคล จะเกี่ยวข้องกับบทบาทของพระสงฆ์ในฐานะผู้น้าทางจิตวิญญาณใน ชุมชน และ (3) ด้านศาสนพิธี เป็นการประยุกต์ความเชื่อทางพุทธศาสนามาใช้ในการดูแลรักษาป่า ในทาง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) ความเชื่อเรื่องผีและขึด ชาวล้านนาเชื่อว่าผีเป็นตัวแทนอ้านาจ เหนือธรรมชาติ ส่วนขึดเป็นข้อห้ามหรือข้อก้าหนด (2) ความรู้ใหม่ เป็นความรู้ที่ได้จากหลักการทาง วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (3) พิธีกรรม การใช้พิธีกรรมเพื่อเป็นมาตรการควบคุมชุมชนในการจัดการ เกี่ยวกับ และ (4) จารีตประเพณีหรือวิถีปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/837
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-181ผศ. ดร.ชูชาติ สุทธะ.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.