Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/836
Title: การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมหลักการแห่งเศรษฐศาสตร์
Other Titles: Analysis of Dhamma Principle Towards Promotion of Economics
Authors: ฐิตเมธโส, คมสัน
พระครู, ปุริมานุรักษ์
ใยอินทร์, เอนก
Keywords: การวิเคราะห์
พุทธธรรม,
หลักการ,
พุทธเศรษฐศาสตร์,
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมหลักการแห่งเศรษฐศาสตร์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาหลักการวิธีการและ องค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ตามหลักพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมหลักการ แห่งเศรษฐศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย ๑) รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เพื่อศึกษาแนวคิดทาง เศรษฐศาสตร์ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ศึกษาหลักการ วิธีการ และองค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ ตามหลักพระพุทธศาสนา จากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒) วิเคราะห์หลัก ธรรมะกับหลักเศรษฐศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ๑) แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ การผลิต การบริโภค การเงิน ปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ความสุขของชีวิตมนุษย์ การบริโภคใช้สอยปัจจัยพื้นฐาน คุณค่าของกาลเวลา และการคำนึงถึงประโยชน์ยิ่งกว่าการถือฤกษ์ยาม ๒) หลักการ ได้แก่ สิ่งต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันและต้องอาศัยกัน มนุษย์มีความเห็นแก่ตัว และความเห็นแก่ผู้อื่น มนุษย์มีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สิน การยึดหลักศีลธรรมและการ ช่วยเหลือสังคม การมีเป้าหมายด้านจิตวิญญาณ วิธีการ ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือ การทำประโยชน์ ต่อสังคม การรู้จักพอประมาณ การมีความรู้ การรู้จักประหยัด และการพึ่งตนเอง องค์ประกอบ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การมีความรู้ และมีคุณธรรม ๓) หลักพุทธธรรมส่งเสริมหลักการแห่งเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ หลักอริยทรัพย์ หลักการ พึ่งตนเอง หลักความไม่ประมาท หลักการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และหลักความซื่อสัตย์และ หิริโอตตัปปะ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/836
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-224 พระคมสัน ฐิตเมธโส.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.