Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/835
Title: การเสริมสร้างความรู้และควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: The Cooperation Strengthening and Corrupt Controlling Done by Monks, People and Local Administrative Organization in Phetchaburi Province
Authors: พระครูอุดมเจติยารักษ์
Keywords: การเสริมสร้างความรู้
ภาคประชาชน
การป้องกันและการควบคุมการทุจริต
พระสงฆ์
องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี ๒) เพื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี และ๓) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความร่วมมือและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เริ่มจากการศึกษาและรวมรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย ตาราทางวิชาการ วารสารและสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยพระสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ในจังหวัดเพชรบุรี พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ แล้วทาการสรุปวิเคราะห์ผลที่ได้ ไปทาการประเมินความเหมาะสม เพื่อปรับปรุงนาเสนอต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการทุจริตโดยพระสงฆ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ในจังหวัดเพชรบุรี ๑) พระสงฆ์ผู้ที่ปฏิบัติดี มีวุฒิภาวะ มีองค์ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับการยอมรับทั้งจากสังฆาธิการ เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน อยู่อาศัยร่วมกับชุมชนตามความสัมพันธ์เชิงศาสนา มีบทบาท ตาแหน่ง หน้าที่ในองค์กรอยู่ก่อนแล้ว ท่านควรต้องได้รับการฝึกอบรม “หลักสูตรการต่อต้านทุจริต” จากหน่วยงานของรัฐ เพื่อท่านจะได้เป็นผู้นาเสนอการต่อต้านทุจริต ทั้งทางภาคทฤษฎีและหลักการที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง พร้อมภาคปฏิบัติวิธีการแก้ไขปัญหา โดยอาศัยหน่วยอบรมประชาชนประจาตาบลเป็นศูนย์การดาเนินการดังกล่าว ๒) บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีคุณภาพ มีทักษะการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลักกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักธรรมาภิบาล และระเบียบปฏิบัติของท้องถิ่น มีคุณธรรม จริยธรรม ต้องยกเลิกระบบอุปถัมภ์ ส่งเสริมระบบคุณธรรมให้ประจักษ์แก่ชุมชน โดยการสร้างและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ยอมรับความคิดเห็นและบทบาทของประชาชนที่เข้าร่วม ในรูปแบบคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และคณะกรรมการติดตามและ ประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐต้องใช้ธรรมาภิบาล ทั้งหลักนิติศาสตร์ คือ พิจาณาให้คุณให้ โทษตามกฎหมาย และหลักรัฐศาสตร์ คือ ความถูกต้องเป็นธรรมตามจารีตประเพณี วัฒนธรรมและ ศีลธรรมอันดีของประชาชน และ ๓) สาหรับภาคประชาชนต้องมีสานึกความเป็นพลเมืองดี มีส่วนร่วม ในการตรวจสอบ การดาเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แบบชุมชนเครือข่ายต่อต้านการทุจริต ตาม เจตนารมณ์ “ท้องถิ่นซื่อสัตย์ ภาครัฐโปร่งใส” สามารถถูกตรวจสอบจากทั้งบุคคลภายนอกและจาก ประชาชนในท้องถิ่น จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริต เช่นจัดการประกวด แข่งขัน และอื่นๆ เพื่อ ประกาศยกย่องบุคคลดีเด่นตัวอย่าง จากภาคประชาชนในชุมชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/835
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-307 พระครูอุดมเจติยารักษ์.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.