Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/833
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระชยานันทมุนี | - |
dc.contributor.author | กิตฺติเมธี, พระมหากิตติ | - |
dc.contributor.author | ศรีลา, ธนวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | อุ่นสวน, สิทธิชัย | - |
dc.contributor.author | ยศนรินทร์, ประทีป | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-31T06:20:51Z | - |
dc.date.available | 2022-03-31T06:20:51Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/833 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีคิดและการจัดการป่าของชุมชนหมู่บ้านพุทธ เกษตรในจังหวัดน่าน 2)เพื่อพัฒนากิจกรรมและการประกอบสัมมาชีพของหมู่บ้านพุทธเกษตรใน จังหวัดน่าน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการป่าและการส่งเสริมสัมมาชีพของเกษตรกรวิถีพุทธสู่ ความยั่งยืนในจังหวัดน่านและ 4) เพื่อสร้างเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตรในการจัดการป่าและพัฒนา สัมมาชีพในพื้นที่จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยในแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) การวิจัยเชิงปริมาณใช้ การตอบแบบสอบถาม และการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาวิธีคิดและการจัดการป่าขุมชนของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน พบว่าการ จัดการป่าชุมชนให้เกิดประโยชน์ ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายในการจัดการป่าชุมชน เกษตรกรรมสร้างรายได้แก่ครอบครัว เพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม มีการใช้ ทรัพยากรการจัดการป่าตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งอาหารธรรมชาติ/แหล่งสมุนไพร /แหล่ง ท่องเที่ยว /แหล่งเลี้ยงสัตว์/แหล่งวัตถุดิบเพื่อการผลิตวัสดุอุปกรณ์ในครัวเรือนและการเกษตร สร้าง รายได้และแหล่งศึกษาเรียนรู้ สำหรับนักอนุรักษ์หรือนักเรียน การจัดการป่าชุมชนให้เกิดประโยชน์ ยังสร้างความชุ่มชื้นของดินและผิวดินที่อุดมสมบูรณ์จากพื้นที่ป่า ช่วยบรรเทาอุทกภัยความรุนแรงของ อุทกภัยให้เบาบางลงได้ 2) ลักษณะกิจกรรมด้านการเกษตรมีลักษณะกิจกรรม ๔ ลักษณะ ๑) การทำการเกษตร แบบดั้งเดิม ที่เน้นการดำรงชีพเพื่อให้อยู่ได้ในพื้นที่โดยพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ๒) การทำ การเกษตรแบบผสมผสานแนวใหม่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีหลักการระเบิดจากข้างในลุกขึ้นมา จัดการตนเอง ผลิตเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ภายในครอบครัว ๓) การเกษตรที่เน้นการท่องเที่ยวเชิง สุขภาพ เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวและกระแสการดูแลสุขภาพ กลุ่มนี้ จะมีต้องการสินค้าด้านการเกษตรที่ดีมีคุณภาพและปลอดภัย ๔) การเกษตรแบบค้าขาย ที่เน้นการผลิต ข จำนวนไม่มาก การผลิตลักษณะนี้มีการผลิตที่ควบคุมในเรื่องของคุณภาพจึงเป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนการพัฒนากิจกรรมการประกอบสัมมาชีพนั้นจะมุ่งเน้นการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโดยวิธีการการตระหนักถึงสภาพปัญหาของตนเองที่ต้องเผชิญ การ รวมกลุ่ม ศึกษาดูงาน การทดลองทำ การติดตามผล และการพัฒนาต่อยอด เกี่ยวกับผลิตเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ผนวกกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากภาครัฐ และการค้นหาทุนที่มี ในชุมชนเพื่อเป็นจุดขาย ให้กับชุมชนจนนำมาซึ่งรายได้ของคนในชุมชน 3) การพัฒนารูปแบบการจัดการป่าและการส่งเสริมสัมมาชีพของเกษตรกรวิถีพุทธสู่ความ ยั่งยืนในจังหวัดน่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการจัดการป่า ดังนี้ 1) กระบวนการจัดสรร พื้นที่ป่าโดยชุมชนจัดการตนเอง 2) กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมผ่านทางพิธีกรรม 3) กระบวนการใช้ ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการป่า 2. การส่งเสริมสัมมาชีพของเกษตรกรวิถีพุทธ สามารถแยกออกเป็น หลักการได้ดังนี้ คือ 1) สร้างชุมชนให้เป็นชุมชนชีววิถี 2) ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 4) การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตรเป็นทางออกของเกษตรกรจังหวัดน่านเพื่อให้อยู่ กับป่าอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการจัดการป่าน่านโดยใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการชุมชน การ สร้างจิตสำนึกและความเชื่อในชุมชน ภายใต้การหนุนเสริมจากภาครัฐและเอกชน มีวิธีการสร้าง เครือข่าย ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจ กำหนดบทบาทของสมาชิกและภาคีเครือข่าย การรับผลประโยชน์ ร่วมกันอย่างเป็น ธรรม รูปแบบของเครือข่าย เป็น แบบทางการ และไม่เป็นทางการ ใช้ กระบวนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตร โดยการวิเคราะห์ชุมชนค้นหาเป้าหมาย ร่วมกัน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์หมู่บ้านพุทธเกษตรจำนวน 4 ข้อได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ส่งเสริมการ วิจัย การสร้างนวัตกรรม และเผยแพร่องค์ความรู้การจัดการป่าและพัฒนาสัมมาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาสินค้า บริการกลุ่มเกษตรอินทรีย์และสัมมาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาตลาดสินค้าและบริการ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และผลผลิตจากการประกอบสัมมาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ขับเคลื่อนและ พัฒนาสัมมาชีพ จนเกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย ได้แก่ หลักธรรม ความเชื่อความศรัทธาแนวพุทธ การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดการปล่อยป่า การปลูกป่าด้วยการคืนป่าและการปรับตัวของมนุษย์ ต่อการดำรงชีวิตภายใต้บริบทชุมชน สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกัน และมีความยั่งยืน การสืบสานต่อยอดผลการดำเนินงานวิจัย สู่การเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรพุทธเกษตร วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน ฯ เฉลิมพระเกียรติ ฯ กับการเปิดการเรียนการสอนที่ห้องเรียนบ้านผาสิงห์ ห้องเรียนวิถีพอเพียง ห้องเรียนพุทธเกษตร การนำผลผลิต การสร้างอาชีพ การสร้างรายได้จากการที่ผู้เรียน นำมาจัดแสดงนิทรรศการและจำหน่ายถวายงานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในงานประชุมวิชาการวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10 และ ระดับชาติ ครั้งที่ 3 (The 10th International and the 3rd National Conference 2019 (INC 2019 : MCU Nan) ณ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระ เกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | หมู่บ้านพุทธเกษตร | en_US |
dc.subject | จัดการป่า | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสัมมาชีพ | en_US |
dc.subject | เกษตรกรวิถีพุทธ | en_US |
dc.title | หมู่บ้านพุทธเกษตร:รูปแบบการจัดการป่าและการส่งเสริมสัมมาชีพของ เกษตรกรวิถีพุทธสู่ความยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดน่าน | en_US |
dc.title.alternative | Buddhist Agriculture Village: A Model of Forest Management and Honest Livelihood Promotion of Buddhist Styled Agriculturist for Sustainability in Nan Province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-129พระชยานันทมุนี,ผศ.ดร.pdf | 5.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.