Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/831
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชลศิริ, กาญจนา-
dc.contributor.authorกว้างไชย์, วัชระ-
dc.date.accessioned2022-03-31T06:17:45Z-
dc.date.available2022-03-31T06:17:45Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/831-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การอนุรักษ์นาคทันต์และธรรมาสน์บุษบกล้านนา เป็นงานวิจัยเชิง คุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลสารสนเทศ และแหล่งงานศิลปกรรมนาคทันต์และ ธรรมมาสน์บุษบกแบบล้านนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างนาคทันต์และธรรมมาสน์บุษบกล้านนา 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์นาคทันต์และธรรมมาสน์บุษบกล้านนา วัดบ้านโป่ง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า จากการการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 1) การศึกษาความเป็นมาเกี่ยวกับ ศิลปกรรมวัตถุที่มีคุณค่าเชิงสุนทรียะทางความงามของภูมิปัญญาช่างโบราณที่สร้างขึ้น ในการใช้ ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา และศาสนา ส่วนปัญหาที่ เกิดขึ้นกับศิลปกรรมวัตถุเกิดขึ้นเองจากธรรมชาติทำให้เกิดความเสียหายตามกาลเวลาและความไม่ เข้าใจในการดูแลรักษา แต่อย่างไรก็ตามศิลปกรรมที่ยังหลงเหลือเศษซาก และร่องรอยโครงสร้างที่เคย ดำเนินอยู่ในอดีต ให้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ระหว่างคนกับศิลปะ ในการรวบรวมศึกษาทั้งเนื้อหา การอนุรักษ์ที่สามารถปรับใช้ในการอนุรักษ์เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและการลำดับของจุดกำเนิดที่ เปลี่ยนแปลงมาเป็นยุคสมัยปัจจุบัน วัตถุประสงค์ข้อที่ 2) การอนุรักษ์ ตามพจนานุกรม หมายถึง การ รักษาให้คงเดิม ดังนั้น การอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย จึงหมายถึง การรักษาศิลปกรรมที่สร้างขึ้นบนผืน แผ่นดินไทย อันเป็นวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่เป็นมรดกของชนรุ่นหลังวัตถุประสงค์ข้อที่ 3) การ ถ่ายทอดงานอนุรักษ์จึงต้องมีกระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจน ให้เป็นแบบอย่างให้แก่ชาวบ้าน หรือผู้ที่มี ความสนใจในการสืบสานงานต่อเชิงอนุรักษ์ให้กับศิลปกรรม วัตถุและดำรงไว้นานเท่านานสามารถ เป็นแหล่งเรียนรู้การศึกษาการข้อมูลในศิลปกรรมของชาติถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ของคนสมัยก่อน ในการคำนึงถึงศิลปวัตถุที่ใช้ประกอบประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ ความ ศรัทธา และศาสนา ให้สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยก่อน โดยนำหลักการศิลปะเชิง ความงามมาใช้ในชีวิตประจำวัน อันเป็นจิตใจละเอียดอ่อนประณีต เพื่อเกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าใน ศิลปกรรมของชาติและเกิดความหวงแหงนสมบัติอันงดงามล้ำค่าและการอนุรักษ์ศิลปกรรมให้ดำรงอยู่ สืบไปen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectนาคทันต์,en_US
dc.subjectการอนุรักษ์en_US
dc.subjectธรรมาสน์บุษบกen_US
dc.titleการอนุรักษ์นาคทันต์และธรรมาสน์บุษบกล้านนาen_US
dc.title.alternativeThe Conservation of Nakatan (Corbel) and Thammat Busabok Lannaen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-345กาญจนา ชลศิริ.pdf7.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.