Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/824
Title: | การศึกษาแนวคิด วิธีการปฏิบัติและการสื่อสารทางพุทธิปัญญา ของสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | A Conceptual and Practical Study on Intellectual Cognitive Communication of Meditation Centers in Chiang Mai Province |
Authors: | แก้วตา, บุญมี ปุญฺญธโร, บุญทรง จนฺทิโก, ณัฐพล |
Keywords: | สำนักปฏิบัติธรรม การสื่อสารทางพุทธิปัญญา |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการและวิธีการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารทางพุทธิปัญญาของสำนักปฏิบัติธรรม ในจังหวัดเชียงใหม่ ๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารให้เกิดพุทธิปัญญา ของสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ๑) สำนักปฏิบัติธรรม ในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง ๔ สำนัก มีแนวคิดและหลักการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ กำหนดอาการ พองหนอ – ยุบหนอ ของลมหายใจ ได้สืบทอดหลักการนี้ต่อกันมาจากสำนักท่านมหาสีสยาดอ ประเทศพม่า และมีความสอดคล้องตรงตามหลักพระไตรปิฎก โดยไม่แตกต่างกัน ส่วนวิธีการปฏิบัติแต่ละสำนัก กลับมีรายละเอียดที่ต่างกันไป คือ วัดพระธาตุศรีจอมทอง สอนปฏิบัติ แบบฝึกหัดด้วยสื่อประกอบการบรรยาย เน้นเรื่อง “วิปัสสนาญาณ ๑๖ ขั้น”, วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เน้นการพิจารณาองค์ธรรมสำคัญ คือ “ปัญญาเจตสิก”, ศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณังเลณัง เน้นการกำหนด “พองหนอ-ยุบหนอ”, และสำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม เน้นการปฏิบัติ ให้ตั้งตนอยู่ในศีล ภาวนา สมาธิ ๒) ในด้านกระบวนการสื่อสารทางพุทธิปัญญา ทุกสำนักใช้กระบวนการสื่อสารแบบครบวงจร โดยเริ่มจากหน้าที่ในการสื่อสาร การติดต่อประชาสัมพันธ์ การส่งเสริม สืบสานงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา สารที่ใช้ในการสื่อ มีทุกรูปแบบ ทั้งประเภทเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ หนังสือธรรม วรรณกรรม และ ระบบมัลติมิเดีย ๓) ในด้านรูปแบบการสื่อสารให้เกิดพุทธิปัญญา ทุกสำนักใช้หลักทฤษฎีการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร, สาร, ช่องทางสื่อสาร, และผู้รับสาร นอกกระบวนการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้ปฏิบัติโดยตรงแล้ว สำนักปฏิบัติธรรมยังใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ดังนี้ วัดพระธาตุศรีจอมทอง สื่อสารผ่าน เฟสบุ๊ค ของพระธรรมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล) ด้วยการ โพสต์รูปภาพ วิดีโอการสอนการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับสูง ขณะที่สำนักวิปัสสนาวัดร่ำเปิง ก็สื่อสารผ่านเฟสบุ๊ค ของพระภาวนาภิรัช ด้วยการแสดงความคิดเห็น เน้นการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานในแนวสติ ปัฏฐาน ๔ ส่วนศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณังเลณัง เฉลิมราช ๖๐ ปี สื่อสารผ่าน เฟสบุ๊ค ของพระครูภาวนา สมณวัตร ในการเสนอพุทธธรรม เน้นสติปัฏฐาน ๔ (พองหนอ-ยุบหนอ) และสุดท้าย สำนักปฏิบัติ ธรรมนิโรธาราม ก็ใช้เฟสบุ๊ค ของภิกษุณีรุ้งเดือน นนฺทญาณี (สุวรรณ) ด้วยการแสดงความคิดเห็น ให้ปฏิบัติตนตั้งอยู่ในศีล ภาวนา สมาธิ อย่างเคร่งครัด และมุ่งศึกษาคำสอนจากพระไตรปิฎก เพื่อการ พ้นทุกข์ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/824 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-008 นายบุญมี แก้วตา.pdf | 7.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.