Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/823
Title: | พุทธจริยศาสตร์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนใน จังหวัดขอนแก่น |
Other Titles: | The Buddhist Ethics for prevention and resolution of The drug problem of the community in KhonKaen province |
Authors: | ลีกา, จรัส |
Keywords: | พุทธจริยศาสตร์ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องพุทธจริยศาสตร์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนในจังหวัดขอนแก่นโดยมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสาเหตุของการติดยาเสพติดของชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ๒. เพื่อศึกษาการนำหลักพุทธจริยศาสตร์ไปปรับใช้ในการแก้ไขและการป้องกันปัญหายาเสพติดของชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ๓. เพื่อศึกษาการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานในการแก้ไขและการป้องกันปัญหายาเสพติดของชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๖๐ รูป/คน จาก ๓ ชุมชน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี (Inductive analysis) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นแนว ผลการวิจัยพบว่า ๑. สาเหตุของการติดยาเสพติดของชุมชนใน ๓ ชุมชน ประกอบด้วย ๑) ชุมชนวัดวุฒาราม เขต ๓ อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น ๒) ชุมชนหนองกุงธนสาร อ. ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ๓) ชุมชนเปือยน้อย อ.เปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น พบว่า มีสาเหตุมาจาก ๑) สาเหตุจากความคึกคะนองและการอยากรู้อยากลอง ๒) ด้านการคบเพื่อน ๓) ด้านครอบครัว ๔) ด้านสภาพแวดล้อม ๒. การแก้ไขและการป้องกันปัญหายาเสพติดของ ๓ ชุมชน มีการนำหลักพุทธจริยศาสตร์ไปปรับใช้ทั้ง ทำให้เห็นถึงกระบวนการในการนำหลักพุทธจริยศาสตร์ไปปรับใช้เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการแก้ไขและการป้องกันปัญหายาเสพติดของชุมชน ดังนี้ ๑.หลักอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ๒. พรหมวิหารธรรม ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ๓. เกณฑ์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดใน ๓ ชุมชน มีปัจจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อวิธีการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในแต่ละชุมชนได้ใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนโดยใช้วิธีการแบบวิถีวัฒนธรรมของชุมชน และวิธีการของนิติรัฐเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการแก้ไขและการป้องกันปัญหายาเสพติดของชุมชน ซึ่งสังเคราะห์ได้ ๗ มาตรการ ดังนี้ ๑. การรณรงค์ให้ความรู้ ๒. การใช้มาตรการทางกฏหมาย ๓. การใช้วิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในชุมชน ๔. การบำบัดและการส่งเสริมอาชีพ ๕. การประชุมเพื่อหาข้อตกลงชุมชน ๖. การสร้างเครือข่ายแบบพหุภาคี ๗. การใช้หลักพุทธธรรม |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/823 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-062 ผศ.ดร.จรัส ลีกา.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.