Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/822
Title: การฟื้นฟูสุขภาวะของผู้สูงวัยของวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Health Restoration of Elder People in the Monasteries In the North East
Authors: ปภสฺสโร, สุภวิชญ์
จนฺทโสภี, สังเวช
Keywords: การฟื้นฟูสุขภาวะ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้สูงวัย
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การฟื้นฟูสุขภาวะของผู้สูงวัยของวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”มีวัตถุประสงค์๓ ประการ คือ ๑)เพื่อศึกษาบทบาทและกิจกรรมของศูนย์ฟื้นฟูสุขภาวะทางกายและทางจิตของผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการของศูนย์ฟื้นฟูสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๓)เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพุทธศาสนาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาหรับวิธีการดาเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied research) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ของผู้สูงอายุตามแนวพุทธศาสนา คณะผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาในเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)กาหนดกลุ่มตัวอย่างไว้ ๒ ประเภท ได้แก่๑) เจ้าอาวาส คณะสงฆ์ พระสังฆาธิการระดับสูง ตัวแทนวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ๒) ผู้สูงอายุชาย/หญิงที่เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาวะตามแนวพุทธศาสนา พื้นที่กรณีศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดเป็นกลุ่มวัดแยกประเภท ๆ ละ ๓ วัด รวม ๑๘ วัดดังนี้ ๑) กลุ่มวัดประเภทที่ส่งเสริมสุขภาวะด้วยการรักษาด้วยพืชสมุนไพรและการส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพร จานวน ๓ วัด ๒) กลุ่มวัดประเภทที่จัดการส่งเสริมอาชีพ จานวน ๓ วัด ๓) กลุ่มวัดประเภทที่เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมตามแนวทางพุทธศาสนา จานวน ๓ วัด ๔) กลุ่มวัดประเภทที่ส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีอีสาน จานวน ๓ วัด๕) กลุ่มวัดประเภทที่ส่งเสริมการออมทรัพย์/การจัดสวัสดิการ จานวน ๓ วัด๖) กลุ่มวัดประเภทที่ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาวะสันทนาการ และการออกกาลังกาย จานวน ๓ วัด ผลการศึกษาพบว่า ๑) การจัดการเรียนรู้สุขภาวะทางด้านร่างกาย ใช้หลักไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ถือเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงนามาใช้แก้ปัญหาด้านความเจ็บป่วย โดยให้พิจารณาถึงแก่นแท้ของชีวิตว่ามีลักษณะแห่งความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นของไม่ใช่ตน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถละความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ ทุกขตา ความเป็นทุกข์ เพราะไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้ และอนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตนที่แท้จริง๒)การจัดการเรียนรู้สุขภาวะทางสังคมใช้หลักสาราณียธรรม เป็นหลักธรรมที่ทาให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสงบสุข มี ๖ ประการ ได้แก่ เมตตากายกรรม คือ การทาความดีต่อกัน เมตตาวจีกรรม คือ การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี เมตตามโนกรรม คือ การตั้งจิตปรารถนาดี การคิดดี คิดทาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม ๓) การจัดการเรียนรู้สุขภาวะทางด้านจิตใจ จะใช้หลักสมถกรรมฐาน และหลักวิปัสสนากรรมฐานการใช้หลักสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานหรือหลักการเจริญสติปัฏฐานเป็นการตั้งสติกาหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามสิ่งนั้นๆ มีลักษณะ ๔ ประการ คือ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งสติกาหนดพิจารณากาย ให้รู้ทันความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติกาหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติกาหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา และธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติกาหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/822
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-013พระมหาสุภวิชญ์ปภสฺสโร.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.