Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/821
Title: | ปัจจัยเชิงนโยบายที่มีความสัมพันธ์กับการปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ ของเกษตรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | Policy Factor’s related to Rice burry Plant Farm of Individual Farmer on Pattani Province |
Authors: | แสงเพชร, อัญชลี |
Keywords: | ข้าวไรท์เบอร์รี่ เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี กระบวนการบริหารจัดการข้าวไรท์เบอร์รี่ ปัจจัยเชิงนโยบาย กระบวนการสร้างความเข้มแข็ง |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการข้าวไรท์เบอร์รี่และการ สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรรายย่อยทั้งระบบ ๒) ศึกษาปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อกระบวนการ ปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดปัตตานี ๓) เสนอกระบวนการสร้างความเข้มแข็ง ของเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ในจังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Field Study) และวิเคราะห์ข้อมูลจาก เอกสาร (Document Analysis) ประชากรที่ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน 36 คน ประกอบด้วย เกษตรกร รายย่อยที่ปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ จากอาเภอแม่ลาน อาเภอมายอ และอาเภอหนองจิก จานวน 30 คน นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร จานวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเชิงคุณภาพ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า ๑. ในด้านกระบวนการบริหารจัดการข้าวไรท์เบอร์รี่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เกษตรกร จะต้องมีความรู้ในด้านการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตข้าวไรท์เบอร์รี่ ตั้งแต่ก่อนการเพาะปลูก ช่วง การเพาะปลูก ช่วงการเก็บเกี่ยว และจัดจาหน่ายผลผลิต นอกจากนี้ เกษตรกรควรมีวิธีการแปรรูปข้าว ไรท์เบอร์รี่เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพ เช่น เครื่องดื่ม อาหาร เครื่องอุปโภค เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดในบางช่วง ส่วนในด้านการสร้างความเข้มแข็ง ของเกษตรกรรายย่อยทั้งระบบ หน่วยงานรัฐจะต้องมีหน้าที่ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการ ผลิตข้าวให้มากที่สุด และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ข้าวไรท์เบอร์รี่ เช่น การแปรรูปเป็น เครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงการส่งเสริมช่องทางการขายข้าวไรท์เบอร์รี่ให้มากขึ้น เช่น ออกบูทสินค้า เกษตรในงานประจาจังหวัด อาทิ งานกาชาด ตลาดธงฟ้า ตลาดประชารัฐ ๒. ปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อกระบวนการปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ของเกษตรกรรายย่อยใน จังหวัดปัตตานี มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ในระดับ จังหวัด คือ นโยบายฟื้นฟูนาร้าง เพราะเป็นนโยบายที่ภาครัฐต้องการฟื้นฟูที่ดินรกร้างให้สามารถ ทาการเกษตรได้ ซึ่งบางพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวทุกสายพันธุ์ จึงจาเป็นต้องสนับสนุนให้ ทาการเกษตรประเภทอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ามัน มะพร้าว ฯลฯ ทาให้พื้นที่ปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่และข้าว สายพันธุ์อื่นๆ ลดลง และปัจจัยด้านนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ของเกษตรกร รายย่อย คือ นโยบายเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งภาครัฐต้องการสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกันเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวให้ลดน้อยลง ส่งเสริมด้านเทคโนโยลีเพื่อเพิ่ม ผลผลิตข้าวให้มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งนโยบายเกษตรแปลงใหญ่เป็นการแทรกแซงระบบการผลิตของ เกษตรกรให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากในปี 2558 ภาครัฐส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ใน ปริมาณมากเพราะเป็นข้าวที่ตลาดมีความต้องการมาก แต่ขาดการวางแผนด้านการตลาดและการ จัดการผลผลิตที่ดีพอ จึงส่งกระทบต่อการปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดปัตตานี ทั้งระบบ เนื่องจากปริมาณข้าวล้นตลาด ราคาข้าวตกต่า เกษตรกรขาดทุนโดยเฉพาะเกษตรกรกลุ่ม หัวก้าวหน้าที่สนใจปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเจอปัญหาดังกล่าวทาให้เกษตรกรรายย่อย หน้าใหม่จานวนมากต่างถอนตัวไม่เพาะปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ และหันไปปลูกข้าวสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีตลาด รองรับอย่างชัดเจน ๓. กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่ในจังหวัด ปัตตานี มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดีรวม 10 ด้าน คือ ด้านการเพาะปลูก ด้านผลผลิต ด้าน บรรจุภัณฑ์ ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านการตลาด ด้านการขนส่ง ด้านต้นทุนการผลิต ทักษะวิชาการด้าน การเกษตร ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านนโยบายรัฐ และด้านการสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลูกข้าว โดยการจัดการที่ดีทั้ง 10 ด้านถือเป็นการสร้างกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร รายย่อย ซึ่งการสร้างความเข้มแข็งนี้ เกษตรกรจะต้องริเริ่มด้วยตนเอง และหน่วยงานรัฐเป็นพลัง หนุนเสริม จึงจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรรายย่อยอย่างยั่งยืน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/821 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-357 นางสาวอัญชลี แสงเพชร.pdf | 13.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.