Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/820
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ตปสีโล, พระใบฎีกาสุพจน์ | - |
dc.contributor.author | วิเศษ, สหัทยา | - |
dc.contributor.author | ชูเลื่อน, ชนิศร์ | - |
dc.contributor.author | บาศรี, ธรรมธัช | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-31T05:56:53Z | - |
dc.date.available | 2022-03-31T05:56:53Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/820 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย ๑) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยลพบุรี ๒) เพื่อศึกษาเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยลพบุรี และ ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรม ที่ปรากฏในหลักฐานโบราณคดีในสมัยลพบุรีผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาจังหวัดที่มีพุทธศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากสมัยลพบุรีที่ชัดเจน จำนวน ๙ จังหวัด ดังนี้ ลพบุรี , กาญจนบุรี , ราชบุรี , สุโขทัย, สระแก้ว,ปราจีนบุรี,นครราชสีมา,บุรีรัมย์,สุรินทร์ และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์ จำนวน ๑๕ คน ผลวิจัยประวัติศาสตร์ เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและหลักพุทธธรรมในสมัยลพบุรีพอสรุปได้ดังนี้ คือ ๑) ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยลพบุรี ละโว้(ลพบุรี) เป็นอาณาจักรที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีพัฒนาการอย่างยาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ พบว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของมนุษย์ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน หลักฐานต่างๆ ล้วนแต่บ่งชี้ว่าอาณาจักรละโว้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นศูนย์กลางทางการเมืองตั้งแต่สมัยทวารวดี ที่เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ เมื่ออิทธิพลของทวารวดีเสื่อมลง อาณาจักรละโว้ก็ยังไม่เสื่อมลง แต่กับมีความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องในช่วงที่วัฒนธรรมเขมรพระนคร ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงสมัยหมดอำนาจทางการเมืองของกัมพูชาโบราณ ทำให้บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำมูล และแม่น้ำชีมีความต่อเนื่อง และเป็นศูนย์กลางในการรับ – ถ่ายทอด ส่งผ่านพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน และนิกายเถรวาท รวมทั้งวัฒนธรรม ภาษา ผสมผสานความเชื่อทำให้เกิดพุทธศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสมัย ๒)เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยลพบุรี ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ในสมัยอาณาจักรเจนละ ซึ่งตรงกับยุคทวารวดี ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี มีการรับ – ถ่ายทอดความเชื่อพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน และ นิกายเถรวาท จากอาณาจักรใกล้เคียงแล้วแผ่อิทธิพลไปในอาณาจักรใกล้เคียงในละแวกอินโดจีน หลังจากยุคทวารวดีแล้ว ลพบุรี ก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา แบบขอมเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย และนำมาผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่นของตัวเอง และส่วนที่ปรากฏให้เห็นอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากศิลปะขอมได้อย่างเด่นชัดในหลายภูมิภาคของประเทศไทย ๓) หลักธรรม ที่ถูกเผยแผ่สมัยลพบุรีในช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมทวารวดี และขอมนิยมที่จะจารึกข้อความที่เป็นหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ๑.คาถา เย ธมฺมาฯ ๒.คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ ๔ ๓.พุทธอุทาน๔.ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร และเรื่องการบริจาค ทาน เพื่อบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | หลักพุทธธรรมในสมัยลพบุรี | en_US |
dc.subject | ประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.subject | เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา | en_US |
dc.title | ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม: ประวัติศาสตร์ เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักพุทธธรรมในสมัยลพบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Cultural Geography : History ,Propagation Routes of Buddhism and Principle of Buddhadhamma in the Lopburi period | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-180 พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล.pdf | 10.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.