Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/819
Title: ศึกษารูปแบบการปกครองของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กับการสร้างความมั่นคงสองฝังโขง
Other Titles: A study Model of The role of King chaichetthathirat with The stability both sides of the Mekong
Authors: เลิศรวมโชค, อริย์ธัช
Keywords: รูปแบบการปกครอง
สองฝังโขง
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
การสร้างความมั่นคง
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยอยู่คือ ๑. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและ รูปแบบการปกครองของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ๒. เพื่อศึกษาการทานุบารุงพระพุทธศาสนาของพระ เจ้าไชยเชษฐาธิราช และ ๓. เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการปกครองของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชกับการ สร้างความมั่นคงสองฝั่งโขง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของ ทั้งสองประเทศไทยและลาวที่มีความสัมพันธ์ในด้านรูปแบบการปกครองของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสถานการระหว่างประเทศในปัจจุบันให้เกิดการพัฒนาที่ ยั่งยืน สามารถสรุปผลการวิจัยตามประเด็นได้ดังนี้ ประวัติความเป็นมาและรูปแบบการปกครองของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระไชยเชษฐาธิ ราชก็เป็นกษัตริย์อีกองค์ที่ครั้งอดีตมีรูปแบบการปกครองทั้งสองประเทศทั้งประเทศไทยและประเทศ ลาว ในหนังสือ "ลาดับกษัตริย์ลาว" ของสุรศักดิ์ ศรีสาอาง ได้ระบุจานวนพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจาก การพิจารณาข้อมูลในจารึกและพงศาวดารลาวฉบับต่างๆ ว่ามีทั้งสิ้น ๕ พระองค์ ดังนี้ สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช นับเป็น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ พระไชยองค์เว้ นับเป็น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ พระเจ้าสิริบุญสาร นับเป็น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ พระเจ้าอินทวงศ์ นับเป็น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๔ พระเจ้าอนุวงศ์ นับเป็น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๕ สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าไชยเชษฐาธิ ราช ถือเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชาติลาว ทรงเป็นผู้นาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ผู้ สถาปนากรุงศรีสัตนาคนหุตให้เป็นศูนย์กลางอารยธรรม และเป็นศูนย์รวมศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ ของ อาณาจักรล้านช้างเข้าไว้ด้วยกัน ประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระไชยเชษฐาธิราช เป็นพระญาติหรือ พระนัดดา ในพระนางจิรประภา เจ้าหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา การทานุบารุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระพุทธศาสนาในยุคของพระเจ้า ไชยเชษฐาธิราช นับว่ามีความเจริญถึงขั้นขีดสุด ทรงได้สร้างวัดสาคัญมากมาย ที่สาคัญที่สุดคือ การ สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่โตมโหฬารสมกับที่เป็นปูชนียสถานคู่แผ่นดินพระ ราชอาณาจักร และได้สร้างวัดในกาแพงเมืองอยู่ประมาณ ๑๒๐ วัด และยังได้สร้างวัดพระแก้ว ซึ่งเป็น ที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ที่นามาจากเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนี้ได้มีการแต่งวรรณกรรมหลาย เรื่อง เช่น สังสินชัย การเกต พระลักพระราม เป็นต้นนอกจากพระองค์จะได้ทรงสร้างพระธาตุ อื่น ๆ และพระพุทธรูปสาคัญ ๆ อีกมากมาย เช่น พระเจ้าองค์ตื้อ ที่เวียงจันทน์ พระเจ้าองค์ตื้อ ที่อาเภอท่า บ่อ จังหวัดหนองคาย พระเสริม พระสุก พระใส พระอินทร์แปลง พระองค์แสน ทรงสร้างวัดพระธาตุ ที่จังหวัดหนองคาย และพระธาตุที่จมน้าโขงอยู่หรือพระธาตุกลางน้า พระธาตุบังพวน อาเภอเมือง หนองคาย สร้างวัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย และพระประธานในโบสถ์ นามว่า พระไชยเชษฐา พระ ศรีโคตรบูร ที่แขวงคาม่วน พระธาตุอิงรัง ที่แขวงสุวรรณเขต (สุวรรณเขต) พระธาตุศรีสองรัก อาเภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย และทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม เป็นต้น วิเคราะห์รูปแบบการปกครองของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชกับการสร้างความมั่นคงสองฝั่งโขง จึงสามารถสรุปได้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ใช้รูปแบบการครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการ ปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คาสั่ง ความต้องการ ต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย กษัตริย์มีอานาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มี กฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แต่สิ่งที่ส่งผลการปกครองของพระเจ้าไชย เชษฐาธิราชในการสร้างความสามัคคีของประชาชนในยุคนั้นได้คือ พระองค์ใช้ความเชื่อของประชาชน ที่มีต่อ ผี และพระพุทธศาสนาในการสร้างเป็นศูนย์รวมจิตใจที่สาคัญ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/819
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-141 อริย์ธัช เลิศรวมโชค.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.