Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/818
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวัฒนะประดิษฐ์, ขันทอง-
dc.contributor.authorโรจนอุทัย, แม่ชีสุดา-
dc.contributor.authorสุวนาคกุล, รุ่งรัตน์-
dc.contributor.authorชัยสุวรรณ, ชนิญญา-
dc.date.accessioned2022-03-31T05:53:46Z-
dc.date.available2022-03-31T05:53:46Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/818-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเพื่อสังคมที่นำไปช่วยในการแก้ปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน ของชุมชนหมู่บ้านท่าคอยนาง อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วน ร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์งานวิจัย ๑) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการสร้างพุทธนวัตกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เด็กและเยาวชน๒) เพื่อนำเสนอ ผลการใช้พุทธนวัตกรรมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ การสัมภาษณ์การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม นักวิจัยชุมชน การสนทนากลุ่ม เทคนิค,การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์(Appreciation-Influence-Control/A-I-C) การร่วมสะท้อนกิจกรรมด้วยเทคนิค (After Action Review/AAR)การใช้ต้นไม้ปัญหาการทำแผนที่ เดินดิน (Geo-social mapping) การออกแบบการจัดกิจกรรมหลัก ๔ ครั้ง การประเมินผลโดย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ๑) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างพุทธนวัตกรรมการสร้าง ภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เด็กและเยาวชนจากการศึกษานำร่อง วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาชุมชน การ ถอดบทเรียนชุมชนต้นแบบ ได้กรอบแนวคิดการสร้างพุทธนวัตกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้ เด็กและเยาวชน ประกอบด้วย ๑. การอบรมบ่มเพาะเยาวชน โดยมีแนวคิดสำคัญคือการพัฒนามนุษย์ ตามหลักไตรสิกขา มรรคมีองค์ ๘, พลังทุนชีวิต (Life Asset)และในการออกแบบกิจกรรมการพัฒนา จิตและปัญญาแบบองค์รวม ที่เรียกว่า ITC-PSS ๒. การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการ ใช้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ได้แก่ การแก้ปัญหาด้วยหลักอริยสัจ การประสานงานในชุมชนควรสื่อสาร ตามหลักปธาน ๔ การมีแรงจูงใจในการทำงานเพื่อชุมชนตามหลักอิทธิบาท ๔โดยผ่านกิจกรรมที่ ๑ การสร้างความตระหนักรู้ เปิดใจรับฟัง ร่วมแสวงหาทางออก ข ๒) ผลการใช้พุทธนวัตกรรมสร้างภูมิคุ้นกันยาเสพติดให้เด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนเป็นผลการดำเนินงานต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ ๑ คือ กิจกรรมที่ ๒ ปลูกฝั่งการเรียนรู้จัก ชุมชนด้วยแผนที่เดินดิน กิจกรรมที่ ๓ อบรมบ่มเพาะ สอนให้รู้ สอนให้รัก สร้างภูมิต้านทานยาเสพติด ในชุมชน กิจกรรมที่ ๔ สร้างสรรค์ พลังเยาวชนมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนเข้มแข็งปลอดภัยจากยาเสพติด นำไปสู่การพัฒนากลุ่มเด็กและเยาวชนที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์กลุ่ม การจัดสรรหน้าที่ และการทำ กิจกรรมขับเคลื่อนชุมชนปลอดยาเสพติด และนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงร่วมกับ ชุมชนเกี่ยวกับมาตรการป้องกันยาเสพติดในเชิงป้องกันและเชิงพัฒนาผลการประเมินพฤติกรรมเด็ก และเยาวชนเมื่อผ่านกิจกรรมต่างๆ พบว่า เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) พัฒนา กายให้เป็นสุข (๒) พัฒนาพฤติกรรมการแสดงออกทางสังคมอย่างมีสุข (๓) พัฒนาจิตใจเข้าถึงความสุข ด้านใน (๔) พัฒนาปัญญาโดยใช้ความสุขทำสิ่งที่สร้างสรรค์เป็นซึ่งเป็นผลจากกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนในทุกมิติทั้งใน ๑) การมีส่วนร่วมคิด วางแผน ตัดสินใจ ๒) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ๓) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ๔) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล องค์ความรู้ใหม่ ๓-๗-๔ BCP โมเดล ประกอบด้วย ๓ หลักการประสานชุมชน สังคม, ๗ กระบวนการแปรผันพลังเยาวชนเพื่อพัฒนาชุมชน และ ๔ แนวปฏิบัติเพื่อสร้างชุมชนแห่งรักที่ เข้มแข็งen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพุทธนวัตกรรมen_US
dc.subjectกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.subjectภูมิคุ้มกันยาเสพติดen_US
dc.subjectเด็กและเยาวชนen_US
dc.titleพุทธนวัตกรรมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เด็กและเยาวชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.title.alternativeBuddhist Innovation Drug enforcement for Children and Youth through Community Participationen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-353ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.