Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/817
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโชติปญฺโญ, ไกรสร-
dc.date.accessioned2022-03-31T05:51:57Z-
dc.date.available2022-03-31T05:51:57Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/817-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง พระพุทธศาสนากับการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ ในชุมชน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของ ผู้สูงอายุในชุมชนตาบลอุโมงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการดูแลสุข ภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุในชุมชนตาบลอุโมงค์ และเพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะ ทางจิตใจของผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative research ) และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) และใช้กระบวนการศึกษาวิจัยจึงเป็นการระดมพลังสร้างสรรค์(AIC)ของชุมชนเพื่อให้เกิดการ เรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์กับการกระทาและการวางแผน และการมีส่วนร่วมของแกนนาชุมชนที่ มีประสบการณ์ในการดาเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่มย่อย เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการ วิจัยมีความน่าเชื่อถือและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ถึงกระบวนการต่าง ๆ ใน การส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยการประเมินของ เครื่องมือดัชนีสุขภาพจิตใจ ภาพรวมแล้วอยู่ในระดับของสุขภาพจิตใจดีขึ้นเป็นลาดับ จึง ชี้ให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาสามารถส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม บทบาทสาคัญของกระบวนการขับเคลื่อนทางพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ ของผู้สูงอายุคือวัด วัดจึงมีแนวทางของการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาวะทาง จิตใจของผู้สูงอายุ ด้วยการบูรณาการบทบาททางพระพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยการ พัฒนาศาสนสถาน การพัฒนาศาสนบุคคล การพัฒนาศาสนธรรม และ การพัฒนาศาสนพิธี เพื่อการดูแลสุขภาวะทางจิตใจของ ทั้งนี้ยังมีแนวทางการบริหารจัดการวัดเพื่อเป็นศูนย์กลาง ต้องมีหลักการและโครงสร้างของการบริหารจัดการวัดที่ชัดเจน ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ การ วางแผน การจัดองค์การ การนาและสั่งการ และ การควบคุม และการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน วัด องค์กรต่าง ๆ ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทา และร่วมรับผลประโยชน์ ในการ ส่งเสริมพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ การศึกษาวิจัย พระพุทธศาสนากับการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุในชุมชน ได้นาเสนอรูปแบบการ ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ ด้วยการบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ ทางจิตใจ ด้วยการเสนอรูปแบบของการพัฒนาวัดที่บูรณาการกับพระพุทธศาสนา การบริหาร จัดการ และการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด รัฐ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ และ เสนอรูปแบบของภาครัฐ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ) ด้วยการสร้างนโยบายสาธารณะที่ เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาวะ การปรับเลี่ยนระบบดูแล การประสานความร่วมมือ และการ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพชุมชนen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจen_US
dc.titleพระพุทธศาสนากับการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุในชุมชนen_US
dc.title.alternativeBuddhist Promoting Mental Health of the Elderly in the Communityen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-005พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.